เมนู

อย่างนี้ว่า " ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ถวายธุวภัต 2 ที่จาก
ธุวภัต 4 ที่ ซึ่งบุตรทั้งหลายให้แก่ข้าพระองค์นั้น แด่พระองค์."
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสว่า " งามละ พราหมณ์, แต่เราจักไปสู่
สถานที่ชอบใจเท่านั้น " แล้วทรงส่งเขาไป.
พราหมณ์ไปถึงเรือนแล้ว บอกพวกบุตรว่า " พ่อทั้งหลาย พระ-
สมณโคดมเป็นสหายของพ่อ, พ่อถวายธุวภัต 2 ที่แก่พระองค์, เจ้า
ทั้งหลายอย่าละเลยในเมื่อพระองค์เสด็จมาถึงนะ," บุตรทั้งหลายรับว่า
" ดีละ คุณพ่อ."

พระศาสดาโปรดบุตรพราหมณ์


วันรุ่งขึ้น พระศาสดาเสด็จไปบิณฑบาต ได้เสด็จไปถึงประตูเรือน
แห่งบุตรคนหัวปี (ของพราหมณ์), เขาเห็นพระศาสดาแล้ว รับบาตร เชิญ
เสด็จให้เข้าไปสู่เรือน เชิญให้ประทับนั่ง ณ บัลลังก์ซึ่งควรแก่ค่ามากแล้ว
ได้ถวายโภชนะอันประณีต. พระศาสดาได้เสด็จไปสู่เรือนของบุตรพราหมณ์
ทั้งสิ้นตามลำดับ คือ วันรุ่งขึ้น ของบุตรนอกนี้, . วันรุ่งขึ้น ของบุตรนอกนี้.
พวกเขาทุกคนได้ทำสักการะอย่างนั้นเหมือนกัน.
ต่อมาวันหนึ่ง บุตรคนหัวปี เมื่อการมงคลปรากฏเฉพาะแล้วจึงพูด
กะบิดาว่า " คุณพ่อขอรับ พวกกระผมจะให้มงคลแก่ใคร ? "
พราหมณ์, พ่อไม่รู้จักคนอื่น, พระสมณโคดมเป็นสหายซึ่งพ่อ
มิใช่หรือ ?
บุตรคนหัวปี. ถ้ากระนั้น คุณพ่อโปรดนิมนต์พระองค์พร้อมกับ
ภิกษุ 500 รูป เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้.
พราหมณ์ได้ทำอย่างนั้น. วันรุ่งขึ้น พระศาสดาพร้อมด้วยบริวาร

ได้เสด็จไปยังบ้านของเขา. เขานิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ให้นั่งในเรือนซึ่งฉาบทาด้วยโคมัยสด ประดับด้วยสรรพาลังการแล้ว
อังคาสด้วยมธุปายาสข้น และด้วยขาทนียะอันประณีต.
ก็ในระหว่างแห่งภัตนั่นแหละ บุตร 4 คนของพราหมณ์นั่งใน
สำนักพระศาสดา กราบทูลว่า " ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ประคับประคองบิดาของพวกข้าพระองค์ ไม่ประมาท, โปรดทอดพระเนตร
อัตภาพของท่านเถิด."

บำรุงมารดาบิดาเป็นมงคล


พระศาสดาตรัสว่า " ท่านทั้งหลายทำกรรมงามแล้ว, ชื่อว่าการเลี้ยง
มารดาบิดา โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย (เคย) ประพฤติมาแล้วเหมือนกัน "
แล้วตรัสมาตุโปสกนาคชาดก1 ในเอกาทสนิบาตนี้โดยพิสดารว่า " เพราะ
ช้างนั้นหลีกไปเสีย ต้นอ้อยช้างและไม้โมกมันจึงงอกขึ้นไสว" ดังนี้เป็นต้น
แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถานี้ว่า :-
3. ธนปาลโก นาม กุญฺชโร
กฏุกปฺปเภทโน ทุนฺนิวารโย
พทฺโธ กพลํ น ภุญฺชติ
สุมรติ นาควนสฺส กุญฺชโร.
"กุญชร นามว่า ธนปาลกะ ตกมันจัด ห้ามได้
ยาก ถูกขังไว้ ไม่บริโภคฟ่อนหญ้า กุญชรระลึกถึง
(แต่) นาควัน2."

1. ขุ. ชา. 27/303. อรรถกถา. 6/1. 2. สุมรติ เป็นอีกรูปหนึ่ง ของสรติ. นาควนสฺส
แปลกันว่า ซึ่งป่าแห่งไม้กากะทิง เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ..