เมนู

2. น หิ เอเตหิ ยาเนหิ คจฺเฉยฺย อคตํ ทิสํ
ยถาตฺตนา สุทนฺเตน ทนฺโต ทนฺเตน คจฺฉติ.
" ก็บุคคลพึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปด้วยยานเหล่า
นี้ เหมือนคนผู้ฝึก (ตน) แล้ว ไปสู่ทิศที่ยังไม่เคย
ไป ด้วยคนที่ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้วฉะนั้นหามิได้."

แก้อรรถ


พระคาถานั้น มีความว่า ก็บุคคลไร ๆ พึงไปสู่ทิศ คือพระนิพพาน
ที่นับว่ายังไม่ได้ไป เพราะความเป็นทิศที่ตนยังไม่เคยไป แม้โดยที่สุด
ด้วยความฝัน ด้วยยานทั้งหลาย มียานคือช้างเป็นต้นเหล่านี้ได้, เหมือน
บุคคลผู้ฝึก (ตน) แล้ว คือผู้หมดพยศ มีปัญญา ไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไป
แล้วนั้น คือบรรลุถึงภูมิแห่งท่านที่ฝึก (ตน) แล้ว ด้วยตนที่ฝึกแล้ว
ด้วยการฝึกอินทรีย์ในส่วนเบื้องต้น ทรมานดีแล้ว ด้วยอริยมรรคภาวนา
ในส่วนเบื้องหลังฉะนั้นก็หามิได; เพราะฉะนั้น การฝึกตนเท่านั้น จึง
ประเสริฐสำหรับเธอ.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นควาญช้าง จบ.

3. เรื่องบุตรของพราหมณ์เฒ่า [234]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพวกบุตรของ
พราหมณ์เฒ่าคนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ธนปาลโก "
เป็นต้น.

บุตรบำรุงบิดาเพราะอยากได้สมบัติ


ได้ยินว่า พราหมณ์คนหนึ่งในกรุงสาวัตถี มีสมบัติประมาณ 8 แสน
ทำอาวาหมงคลแก่บุตร 4 คน ผู้เจริญแล้ว ได้ให้ทรัพย์ 4 แสน.
ต่อมา เมื่อพราหมณีของเขาทำกาละ (ตาย) ไปแล้ว พวกบุตรจึงปรึกษา
พร้อมกันว่า " หากพ่อของเรานี้จักนำพราหมณีคนอื่นมาไซร้, ด้วยอำนาจ
แห่งบุตรทั้งหลาย ที่เกิดในท้องของนาง ตระกูลก็จักทำลาย; เอาเถิด
พวกเรา (ช่วยกัน ) สงเคราะห์ท่าน." พวกเขาบำรุงพราหมณ์เฒ่านั้น
อยู่ด้วยปัจจัยมีอาหารเครื่องนุ่งห่มเป็นต้นอันประณีต ทำกิจมีการนวดฟั้น
มือและเท้าเป็นต้นอยู่ ครั้นบำรุงแล้ว วันหนึ่ง เมื่อพราหมณ์เฒ่านั้น
นอนหลับกลางวันแล้วลุกขึ้นแล้ว, จึงนวดฟั้นมือและเท้าพลางพูดถึงโทษ
ในฆราวาสต่าง ๆ กันแล้ว วิงวอนว่า พวกผมจักทะนุบำรุงคุณพ่อโดย
ทำนองนี้ตลอดชีพ, ขอคุณพ่อโปรดให้แม้ทรัพย์ที่ยังเหลือแก่พวกผมเถิด."
พราหมณ์ให้ทรัพย์แก่บุตรอีกคนละแสน แบ่งเครื่องอุปโภคทั้งหมดให้
เป็น 4 ส่วน มอบให้ เหลือไว้เพียงผ้านุ่งห่มของตน. บุตรคนหัวปีทะนุ
บำรุงพราหมณ์นั้น 2-3 วัน.