เมนู

เราฉันนั้นเหมือนกัน " เมื่อทรงปรารภพระองค์แสดงธรรม ได้ทรงภาษิต
พระคาถาเหล่านี้ ในนาควรรคว่า:-
1. อหํ นาโคว สงฺคาเม จาปาโต ปติตํ สรํ
อติวยากฺยนฺติติกฺขิสฺสํ ทุสฺสีโล หิ พหุชฺชโน.
ทนฺตํ นยนฺติ สมิตึ ทนฺตํ ราชาภิรูหติ
ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ โยติวากฺยนฺติติกฺขติ.
วรมสฺสตรา ทนฺตา โยติวากฺยนฺติติกฺข่ติ.
กุญฺชรา จ มหานาคา อตฺตทนฺโต ตโต วรํ.

" เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน เหมือนช้างอดทนต่อ
ลูกศรที่ตกจากแล่งในสงครามฉะนั้น, เพราะชนเป็น
อันมากเป็นผู้ทุศีล. ชนทั้งหลาย ย่อมนำสัตว์พาหนะ
ที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม, พระราชาย่อมทรงสัตว์
พาหนะที่ฝึกแล้ว, บุคคลผู้อดกลั้นคำล่วงเกินได้ ฝึก
(ตน) แล้ว เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย, ม้า
อัสดร 1 ม้าสินธพผู้อาชาไนย 1 ช้างใหญ่ชนิด
กุญชร 1 ที่ฝึกแล้วย่อมเป็นสัตว์ประเสริฐ, แต่
บุคคลที่มีตนฝึกแล้ว ย่อมประเสริฐกว่า (สัตว์พิเศษ
นั้น)."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาโคว คือ เหมือนช้าง.
สองบทว่า จาปาโต ปติตํ ความว่า หลุดออกไปจากธนู.
บทว่า อติวากฺยํ ความว่า ซึ่งคำล่วงเกิน ที่เป็นไปแล้วด้วย