เมนู

พระอานนท์ทูลให้เสด็จไปนครอื่นก็ไม่เสด็จไป


ท่านพระอานนท์สดับคำนั้นแล้ว ได้กราบทูลคำนี้กะพระศาสดาว่า
' ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาวนครเหล่านี้ ย่อมด่า ย่อมบริภาษเราทั้งหลาย,
เราทั้งหลายไปในที่อื่นจากพระนครนี้เถิด.'
พระศาสดา. ไปไหน อานนท์ ?
พระอานนท์. สู่นครอื่น พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เมื่อมนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น ด่าอยู่ บริภาษอยู่, เราจัก
ไปในที่ไหนอีก อานนท์ ?
พระอานนท์. สู่นครอื่นแม้จากนครนั้น พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เมื่อมนุษย์ในที่นั้น ด่าอยู่ บริภาษอยู่ เราทั้งหลาย
จักไปในที่ไหน (อีก) เล่า อานนท์ ?
พระอานนท์. สู่นครอื่นแม้จากนครนั้น (อีก) พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. อานนท์ การทำอย่างนั้นไม่ควร, อธิกรณ์เกิดขึ้น
ในที่ใด, เมื่อมันสงบแล้วในนั้นนั่นแหละ, การไปสู่ที่อื่นจึงควร; อานนท์
ก็เขาพวกไหนเล่า ย่อมด่า ?
พระอานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนทั้งหมดจนกระทั่งทาสและ
กรรมกร ย่อมด่า.

พระศาสดาทรงอดกลั้นคำล่วงเกินได้


พระศาสดาตรัสว่า " อานนท์ เราเป็นเช่นกับช้างที่เข้าสู่สงคราม,
การอดทนต่อลูกศรที่แล่นมาจาก 4 ทิศ เป็นภาระของช้างที่เข้าสู่สงคราม
ฉันใด, ชื่อว่าการอดทนถ้อยคำที่ชนทุศีลแม้มากกล่าวแล้ว เป็นภาระของ

เราฉันนั้นเหมือนกัน " เมื่อทรงปรารภพระองค์แสดงธรรม ได้ทรงภาษิต
พระคาถาเหล่านี้ ในนาควรรคว่า:-
1. อหํ นาโคว สงฺคาเม จาปาโต ปติตํ สรํ
อติวยากฺยนฺติติกฺขิสฺสํ ทุสฺสีโล หิ พหุชฺชโน.
ทนฺตํ นยนฺติ สมิตึ ทนฺตํ ราชาภิรูหติ
ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ โยติวากฺยนฺติติกฺขติ.
วรมสฺสตรา ทนฺตา โยติวากฺยนฺติติกฺข่ติ.
กุญฺชรา จ มหานาคา อตฺตทนฺโต ตโต วรํ.

" เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน เหมือนช้างอดทนต่อ
ลูกศรที่ตกจากแล่งในสงครามฉะนั้น, เพราะชนเป็น
อันมากเป็นผู้ทุศีล. ชนทั้งหลาย ย่อมนำสัตว์พาหนะ
ที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม, พระราชาย่อมทรงสัตว์
พาหนะที่ฝึกแล้ว, บุคคลผู้อดกลั้นคำล่วงเกินได้ ฝึก
(ตน) แล้ว เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย, ม้า
อัสดร 1 ม้าสินธพผู้อาชาไนย 1 ช้างใหญ่ชนิด
กุญชร 1 ที่ฝึกแล้วย่อมเป็นสัตว์ประเสริฐ, แต่
บุคคลที่มีตนฝึกแล้ว ย่อมประเสริฐกว่า (สัตว์พิเศษ
นั้น)."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาโคว คือ เหมือนช้าง.
สองบทว่า จาปาโต ปติตํ ความว่า หลุดออกไปจากธนู.
บทว่า อติวากฺยํ ความว่า ซึ่งคำล่วงเกิน ที่เป็นไปแล้วด้วย