เมนู

คาถาธรรมบท



นาควรรค1ที่ 23



ว่าด้วยความอดกลั้นต่อคำลวงเกินเหมือนช้างทนลูกศร



[33] 1. เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน เหมือนช้างอดทนต่อ
ลูกศรที่ตกจากแล่งในสงครามฉะนั้น เพราะชนเป็น
อันมากเป็นผู้ทุศีล. ชนทั้งหลายย่อมนำสัตว์พาหนะที่
ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม พระราชาย่อมทรงสัตว์พาหนะ
ที่ฝึกแล้ว บุคคลผู้อดกลั้นคำล่วงเกินได้ฝึก (ตน) แล้ว
เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย ม้าอัสดร 1
ม้าสินธพผู้อาชาไนย 1 ช้างใหญ่ชนิดกุญชร 1 ที่
ฝึกแล้วย่อมเป็นสัตว์ประเสริฐ แต่บุคคลที่มีคนฝึก
แล้วย่อมประเสริฐกว่า (สัตว์พิเศษนั้น).

2. ก็บุคคลพึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปด้วยยาน
เหล่านี้ เหมือนคนผู้ฝึก (ตน) แล้ว ไปสู่ทิศที่ยังไม่
เคยไป ด้วยตนที่ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้วฉะนั้นหามิได้.
3. กุญชร นามว่า ชนปาลกะ. ตถมันจัด ห้าม
ได้ยาก ถูกขังไว้ ไม่บริโภคฟ่อนหญ้า กุญชรระลึก
ถึง (แต่) นาควัน

4. ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินมาก นักง่วง
และมักหลับกระสับกระส่าย ประหนึ่งสุกรใหญ่ที่ถูก

1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 8 เรื่อง.

ปรนปรือด้วยอาหารฉะนั้น ในกาลนั้น เขาเป็นคน
มึนซึม ย่อมเข้าไปถึงห้องร่ำไป.

5. เมื่อก่อน จิตนี้ได้เที่ยวจาริกไป ตามอาการ
ที่ปรารถนาตามอารมณ์ที่ใคร่ (และ) ตามความสบาย
วันนี้เราจักข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการ ประหนึ่งนาย
ควาญช้าง ข่มช้างที่ซับมันฉะนั้น.

6. ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท
จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม ประ-
หนึ่งช้างที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ฉะนั้น.

7. ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษา
ตัว มีธรรมเครื่องอยู่อันดี เป็นนักปราชญ์ ไว้เป็นผู้
เที่ยวไปด้วยกันไซร้ เขาพึงครอบงำอันตรายทั้งสิ้น
เสียแล้ว พึงเป็นผู้มีใจยินดี มีสติ เที่ยวไปกับสหาย
นั้น หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษา
ตัว มีธรรมเครื่องอยู่อันดี เป็นนักปราชญ์ ไว้เป็นผู้
เที่ยวไปด้วยกันไซร้ เขาพึงเที่ยวไปคนเดียว เหมือน
พระราชาทรงละแว่นแคว้น ที่ทรงชนะเด็ดขาดแล้ว
(หรือ) เหมือนช้างชื่อว่ามาตังคะ ละโขลงแล้ว เที่ยว
ไปในป่าตัวเดียวฉะนั้น. ความเที่ยวไปแห่งบุคคลคน
เดียวประเสริฐกว่า เพราะคุณเครื่องเป็นสหายไม่
มีอยู่ในชนพาล บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป
เหมือนช้างชื่อมาตังคะ ตัวมีความขวนขวายน้อย

เที่ยวไปอยู่ในป่าฉะนั้น และไม่พึงทำบาปทั้งหลาย.
8. เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายทั้งหลายนำ
ความสุขมาให้ ความยินดีด้วยปัจจัยนอกน ๆ (ตาม
มีตามได้) นำความสุขมาให้ บุญนำความสุขมาให้
ในขณะสิ้นชีวิต การละทุกข์ทั้งปวงเสียได้นำความ
สุขมาให้ ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่มารดา นำความสุข
มาให้ในโลก อนึ่ง ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่บิดา นำ
ความสุขมาให้ ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่สมณะ นำ
ความสุขมาให้ในโลก อนึ่ง ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่
พราหมณ์นำความสุขมาให้ ศีลนำความสุขมาให้
ตราบเท่าเรา ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้ว นำความสุขมา
ให้ การได้เฉพาะซึ่งปัญญา นำความสุขมาให้ การ
ไม่ทำบาปทั้งหลาย นำความสุขมาให้.

จบนาควรรคที่ 23

23. นาควรรควรรณนา



1.

เรื่องของพระองค์ [232]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี1 ทรงปรารภพระองค์
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อหํ นาโคว" เป็นต้น.

พระศาสดาถูกพวกมิจฉาทิฏฐิด่า


เรื่องข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว ในวรรณนาแห่งพระคาถาแรกแห่ง
อัปปมาทวรรคนั่นแล. จริงอยู่ ในที่นั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ฉะนี้ว่า " พระนาง
มาคันทิยา ไม่อาจทำอะไร ๆ แก่หญิง 500 มีพระนางสามาวดีเป็นประมุข
เหล่านั้นได้" จึงทรงดำริว่า " เราจักทำกิจที่ควรทำแก่พระสมณโคดมให้
ได้" ดังนี้แล้ว ให้สินจ้างแก่ชาวนครทั้งหลายแล้ว กล่าวว่า " ท่านทั้งหลาย
พร้อมกับพวกผู้ชายที่เป็นทาสและกรรมกร จงด่าจงบริภาษพระสมณโคดม
ผู้เสด็จเที่ยวเข้ามาภายในพระนคร ให้หนีไป."
พวกมิจฉาทิฏฐิผู้ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้ติดตามพระศาสดา
ผู้เสด็จเข้าไปภายในพระนคร ด่าอยู่ บริภาษอยู่ ด้วยอักโกสวัตถุ 10 ว่า
" เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นอูฐ เจ้าเป็นโค
เจ้าเป็นลา เจ้าเป็นสัตว์นรก เจ้าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน, สุคติไม่มีสำหรับเจ้า
ทุคติเท่านั้นอันเจ้าพึงหวัง."
1. นครหลวงแห่งแคว้นวังสะ.