เมนู

เรา เกิดเป็นคนมีทิฏฐิวิบัติเสียแล้ว." ครั้งนั้น คนที่สนิทสนมของพวกนั้น
เป็นคนฉลาด มากล่าวธรรมแก่คนเหล่านั้น เพื่อต้องการแก่อันยังความ
โทมนัสให้สงบ.
มารดาและบิดาของพวกเด็กเหล่านั้น ฟังถ้อยคำของคนเหล่านั้น
แล้วจึงกล่าวว่า " พวกเราจักมอบพวกเด็ก ๆ เหล่านี้แก่พระสมณโคดมเสีย
ทีเดียว" ดังนี้แล้ว นำไปสู่พระวิหารพร้อมด้วยหมู่ญาติเป็นอันมาก.

ความเห็นเป็นเหตุให้สัตว์ไปทุคติและสุคติ


พระศาสดาทรงตรวจดูอาสยะของคนเหล่านั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดง
ธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-
9. อวชฺเช วชฺชมติโน วชฺเช จ อวชฺชทสฺสิโน
มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ.
วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา อวชฺชญฺจ อวชฺชโต
สมฺมาทิฏฐิสมาทานา สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ.
"สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หา
โทษมิได้ มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ
เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ. สัตว์
ทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีโทษ โดยความเป็นธรรมมีโทษ
รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ ย่อมไป สู่สุคติ."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวชฺเช คือ ในสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ 10
และในธรรมที่เป็นอุปนิสัยแห่งสัมมาทิฏฐินั้น.

บทว่า วชฺชมติโน คือมีมติเกิดขึ้นว่า " นี้มีโทษ." แต่สัตว์
เหล่านั้น มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ ในธรรมที่มีโทษ คือมิจฉาทิฏฐิมี
วัตถุ 10 และคือธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งมิจฉาทิฏฐินั้น. อธิบายว่า สัตว์
ทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ เพราะความที่ตนถือด้วยดีแล้วซึ่ง
มิจฉาทิฏฐินั่น คือความรู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมมีโทษ
และรู้ธรรมที่มีโทษ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้แล้วยึดถือมั่น ย่อม
ไปสู่ทุคติ.
ความแห่งพระคาถาที่ 2 บัณฑิตพึงทราบโดยความตรงกันข้ามกับ
ที่กล่าวแล้ว.
ในกาลจบเทศนา คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ดำรงอยู่ในสรณะ 3
แล้ว ฟังธรรมอื่น ๆ อีกอยู่ ก็ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ดังนี้แล.
เรื่องสาวกเดียรถีย์ จบ.
นิรยวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 22 จบ.

คาถาธรรมบท



นาควรรค1ที่ 23



ว่าด้วยความอดกลั้นต่อคำลวงเกินเหมือนช้างทนลูกศร



[33] 1. เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน เหมือนช้างอดทนต่อ
ลูกศรที่ตกจากแล่งในสงครามฉะนั้น เพราะชนเป็น
อันมากเป็นผู้ทุศีล. ชนทั้งหลายย่อมนำสัตว์พาหนะที่
ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม พระราชาย่อมทรงสัตว์พาหนะ
ที่ฝึกแล้ว บุคคลผู้อดกลั้นคำล่วงเกินได้ฝึก (ตน) แล้ว
เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย ม้าอัสดร 1
ม้าสินธพผู้อาชาไนย 1 ช้างใหญ่ชนิดกุญชร 1 ที่
ฝึกแล้วย่อมเป็นสัตว์ประเสริฐ แต่บุคคลที่มีคนฝึก
แล้วย่อมประเสริฐกว่า (สัตว์พิเศษนั้น).

2. ก็บุคคลพึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปด้วยยาน
เหล่านี้ เหมือนคนผู้ฝึก (ตน) แล้ว ไปสู่ทิศที่ยังไม่
เคยไป ด้วยตนที่ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้วฉะนั้นหามิได้.
3. กุญชร นามว่า ชนปาลกะ. ตถมันจัด ห้าม
ได้ยาก ถูกขังไว้ ไม่บริโภคฟ่อนหญ้า กุญชรระลึก
ถึง (แต่) นาควัน

4. ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินมาก นักง่วง
และมักหลับกระสับกระส่าย ประหนึ่งสุกรใหญ่ที่ถูก

1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 8 เรื่อง.