เมนู

6. อกตํ ทุกฺกตํ เสยฺโย ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกตํ
กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.
" กรรมชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า, (เพราะ) กรรม
ชั่ว ย่อมเผาผลาญในภายหลัง, ส่วนบุคคลทำกรรม
ใดแล้ว ไม่ตามเดือดร้อน, กรรมนั้น เป็นกรรมดี
อันบุคคลทำแล้วดีกว่า."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺกตํ ความว่า กรรมอันมีโทษยัง
สัตว์ให้เป็นไปในอบาย ไม่ทำเสียเลยดีกว่า คือประเสริฐ ได้แก่ยอดเยี่ยม.
สองบทว่า ปจฺฉา ตปฺปติ ความว่า เพราะกรรมนั้น ย่อมเผาผลาญ
ในกาลที่ตนตามระลึกถึงแล้ว ๆ ร่ำไป.
บทว่า สุกตํ ความว่า ส่วนกรรมอันไม่มีโทษ มีสุขเป็นกำไร
ยังสัตว์ให้เป็นไปในสุคติอย่างเดียว บุคคลทำแล้วดีกว่า.
สองบทว่า ยํ กตฺวา ความว่า บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่
เดือดร้อนในภายหลัง คือในกาลเป็นที่ระลึกถึง ชื่อว่า ย่อมไม่ตามเดือดร้อน
คือเป็นผู้มีโสมนัสอย่างเดียว, กรรมนั้นอันบุคคลทำแล้ว ประเสริฐ.
ในกาลจบเทศนา อุบาสกและหญิงนั้น ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว,
ก็แลชนทั้งหลายทำหญิงรับใช้นั้นให้เป็นไท ในที่นั้นนั่นแล แล้วทำให้
เป็นหญิงมีปกติประพฤติธรรม ดังนี้แล.
เรื่องหญิงขี้หึง จบ.