เมนู

" หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี ย่อมตามบาดมือนั่นเอง
ฉันใด, คุณเครื่องเป็นสมณะ ที่บุคคลลูบคลำไม่ดี
ย่อมคร่าเขาไปในนรก ฉันนั้น. การงานอย่างใด
อย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน, วัตรใดที่เศร้าหมอง, พรหม-
จรรย์ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ, กรรมทั้งสามอย่าง
นั้น ย่อมไม่มีผลมาก. หากว่าบุคคลพึงทำกรรมใด
ควรทำกรรมนั้นให้จริง, ควรบากบั่นทำกรรมนั้นให้มั่น
เพราะว่าสมณธรรมเครื่องละเว้นที่ย่อหย่อน ยิ่งเกลี่ย
ธุลีลง."

แก้อรรถ


หญ้ามีคมชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยที่สุดแม้ใบตาล ชื่อว่า กุโส ใน
พระคาถานั้น. หญ้าคานั้น ผู้ใดจับไม่ดี ย่อมตามบาด คือย่อมแฉลบบาด
มือของผู้นั้น ฉันใด; แม้คุณเครื่องเป็นสมณะกล่าวคือสมณธรรม ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ชื่อว่าอันบุคคลลูบคลำไม่ดี เพราะความเป็นผู้มีศีลขาดเป็นต้น.
บาทพระคาถาว่า นิรยายูปกฑฺฒติ ความว่า ย่อมให้เกิดในนรก.
บทว่า สถิลํ ได้แก่ การงานไร ๆ ที่บุคคลทำ ทำให้เป็นการ
ยึดถือไว้ย่อหย่อน โดยทำหละหลวม.
บทว่า สงฺกิลิฏฺฐํ ความว่า ชื่อว่า เศร้าหมองเพระการเที่ยวไปใน
อโคจร มีหญิงแพศยาเป็นต้น.
บทว่า สงฺกสฺสรํ ได้แก่ พึงระลึกด้วยความสงสัยทั้งหลาย คือเห็น
สงฆ์แม้ที่ประชุมกันด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดากิจ มีกิจด้วย
อุโบสถเป็นต้น แล้วระลึกด้วยความสงสัยของตน คือรังเกียจ ได้แก่

ระแวงอย่างนี้ว่า " ภิกษุเหล่านี้ ทราบความประพฤติของเรา มีประสงค์
จะยกวัตรเรา จึงประชุมกันแน่แท้. "
สองบทว่า น ตํ โหติ ความว่า พรหมจรรย์ กล่าวคือสมณธรรม
นั้น คือเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีผลมากแก่บุคคลนั้น, เพราะไม่มีผลมาก
แก่เธอ ก็ย่อมไม่มีผลมากแม้แก่ทายกผู้ถวายภิกษาแก่เธอ (ด้วย).
บทว่า กยิรา เจ ความว่า เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงทำการงานใด,
จงทำการงานนั้นจริง ๆ.
บาทพระคาถาว่า ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม ความว่า ควรทำการงาน
นั่นให้เป็นของอันตนทำมั่นคง คือเป็นผู้มีการสมาทานดำรงมั่นทำการงาน
นั่น.
บทว่า ปริพฺพาโช ได้แก่ สมณธรรมที่บุคคลทำด้วยการยึดถือ
ย่อหย่อน อันถึงภาวะมีความขาดเป็นต้น.
บทว่า ภิยฺโย ความว่า สมณธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่สามารถที่
จะนำออกซึ่งธุลี มีธุลีคือราคะเป็นต้น ที่มีอยู่ ณ ภายใน โดยที่แท้ ย่อม
เกลี่ยธุลี มีธุลีคือราคะเป็นต้น แม้อย่างอื่น ณ เบื้องบนของผู้นั้น.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้นแล้ว. ภิกษุแม้นั้นดำรงอยู่ในความสังวรแล้ว ภายหลัง
เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุว่ายาก จบ.

6. เรื่องหญิงขี้หึง [228]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภหญิงขี้หึง
คนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อกตํ " เป็นต้น.

หญิงขี้หึงทำกรรมชั่วแล้วคิดปกปิด


ได้ยินว่า สามีของหญิงนั้นได้ทำความเชยชิดกับหญิงรับใช้ในเรือน
คนหนึ่ง. หญิงขี้หึงนั้น มัดมือมัดเท้าหญิงรับใช้คนนั้นไว้แล้วตัดหูตัดจมูก
ของเขา ขังไว้ในห้องว่างห้องหนึ่ง ปิดประตูแล้ว เพื่อจะปกปิดความที่
กรรมนั้นอันตนทำแล้ว (ชวนสามี) ว่า " มาเถิดนาย, เราจักไปวัดฟัง
ธรรม " พาสามีไปวัดนั่งฟังธรรมอยู่. ขณะนั้นพวกญาติผู้เป็นแขกของ
นางมายังเรือน (ของนาง) แล้ว เปิดประตูเห็นประการอันแปลกนั้นแล้ว
แก้หญิงรับใช้ออก. หญิงรับใช้นั้นไปวัด กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระ-
ทศพล ในท่ามกลางบริษัท 4.

กรรมชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง


พระศาสดาทรงสดับคำของหญิงรับใช้นั้นแล้ว ตรัสว่า " ขึ้นชื่อว่า
ทุจริต แม้เพียงเล็กน้อยบุคคลไม่ควรทำ ด้วยความสำคัญว่า ' ชนพวก
อื่นย่อมไม่รู้กรรมนี้ของเรา ' (ส่วน) สุจริตนั่นแหละ เมื่อคนอื่นแม้ไม่รู้
ก็ควรทำ, เพราะว่าขึ้นชื่อว่าทุจริต แม้บุคคลปกปิดทำ ย่อมทำการเผา
ผลาญในภายหลัง, (ส่วน) สุจริตย่อมยังความปราโมทย์อย่างเดียวให้เกิดขึ้น
ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-