เมนู

5. เรื่องภิกษุว่ายาก [227]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุว่ายาก
รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " กุโส ยถา " เป็นต้น.

ภิกษุเด็ดหญ้าแล้วสงสัย


ได้สดับมาว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ไม่แกล้ง เด็ดหญ้าต้นหนึ่ง เมื่อความ
รังเกียจเกิดขึ้น, จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง บอกความที่กรรมอันตนทำแล้ว
ถามว่า " ผู้มีอายุ ภิกษุใดเด็ดหญ้า, โทษอะไร ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น ? "
ลำดับนั้น ภิกษุนอกนี้ กล่าวกะเธอว่า " ท่านทำความสำคัญว่า ' โทษ
อะไร ๆ มี' เพราะเหตุแห่งหญ้าที่ท่านเด็ดแล้ว, โทษอะไร ๆ ย่อมไม่มี
ในที่นี้, แต่ท่านแสดงแล้ว ย่อมพ้นได้ แม้ตนเลงก็ได้เอามือทั้งสอง
ถอนหญ้าแล้วถือไว้. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา.

กรรมที่บุคคลทำย่อหย่อนไม่มีผลมาก


พระศาสดาทรงติเตียนภิกษุนั้นโดยอเนกปริยาย เมื่อทรงแสดงธรรม
ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-
5. กุโส ยถา ทุคฺคหิโต หตฺถเมวานุกนฺตติ
สามญฺญํ ทุปฺปรามฏฺฐํ นิรยายูปกฑฺฒติ.
ยํ กิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ สงฺกิลิฏฺฐญฺจ ยํ วตํ
สงฺกสฺสรํ พฺรหฺมจริยํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.
กยิรญฺเจ กยิรเถนํ1 ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม
สิถิโล หิ ปริพฺพาโช ภิยฺโย อากิรเต รชํ.
1. อรรถกถา. กยิรา เจ กยิราเถนํ ตรงกับฉบับพม่า.

" หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี ย่อมตามบาดมือนั่นเอง
ฉันใด, คุณเครื่องเป็นสมณะ ที่บุคคลลูบคลำไม่ดี
ย่อมคร่าเขาไปในนรก ฉันนั้น. การงานอย่างใด
อย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน, วัตรใดที่เศร้าหมอง, พรหม-
จรรย์ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ, กรรมทั้งสามอย่าง
นั้น ย่อมไม่มีผลมาก. หากว่าบุคคลพึงทำกรรมใด
ควรทำกรรมนั้นให้จริง, ควรบากบั่นทำกรรมนั้นให้มั่น
เพราะว่าสมณธรรมเครื่องละเว้นที่ย่อหย่อน ยิ่งเกลี่ย
ธุลีลง."

แก้อรรถ


หญ้ามีคมชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยที่สุดแม้ใบตาล ชื่อว่า กุโส ใน
พระคาถานั้น. หญ้าคานั้น ผู้ใดจับไม่ดี ย่อมตามบาด คือย่อมแฉลบบาด
มือของผู้นั้น ฉันใด; แม้คุณเครื่องเป็นสมณะกล่าวคือสมณธรรม ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ชื่อว่าอันบุคคลลูบคลำไม่ดี เพราะความเป็นผู้มีศีลขาดเป็นต้น.
บาทพระคาถาว่า นิรยายูปกฑฺฒติ ความว่า ย่อมให้เกิดในนรก.
บทว่า สถิลํ ได้แก่ การงานไร ๆ ที่บุคคลทำ ทำให้เป็นการ
ยึดถือไว้ย่อหย่อน โดยทำหละหลวม.
บทว่า สงฺกิลิฏฺฐํ ความว่า ชื่อว่า เศร้าหมองเพระการเที่ยวไปใน
อโคจร มีหญิงแพศยาเป็นต้น.
บทว่า สงฺกสฺสรํ ได้แก่ พึงระลึกด้วยความสงสัยทั้งหลาย คือเห็น
สงฆ์แม้ที่ประชุมกันด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดากิจ มีกิจด้วย
อุโบสถเป็นต้น แล้วระลึกด้วยความสงสัยของตน คือรังเกียจ ได้แก่