เมนู

บทว่า ปรทารูปเสวี ความว่า เข้าไปเสพภรรยาของคนอื่นอยู่ ชื่อ
ว่ามักประพฤตินอกทาง.
บทว่า อปุญฺญลาภํ ได้แก่ การได้อกุศล.
บทว่า น นิกามเสยฺยํ ความว่า บุคคลนั้นไม่ได้การนอนอย่างที่
ตนปรารถนา ย่อมได้การนอนตลอดกาลนิดหน่อยเท่านั้น ซึ่งตนไม่
ปรารถนา.
บทว่า อปุญฺญลาโภ จ ความว่า การได้สิ่งอันไม่เป็นบุญนี้อย่างหนึ่ง
คติอันลามก กล่าวคือนรก เพราะสิ่งอันไม่เป็นบุญนั้น (เป็นเหตุ) อย่าง
หนึ่ง ย่อมมีแก่บุคคลนั้น อย่างนี้.
สองบทว่า รตี จ โถกิกา ความว่า แม้ความยินดีของบุรุษผู้กลัว
นั้น กับหญิงผู้กลัวมีประมาณน้อย คือมีนิดหน่อย.
บทว่า ครุกํ ความว่า อนึ่ง พระราชาย่อมลงอาชญาอย่างหนักด้วย
สามารถแห่งการตัดมือเป็นต้น.
บทว่า ตสฺมา เป็นต้น ความว่า บุคคลผู้เสพภรรยาของคนอื่น
ย่อมถึงฐานะทั้งหลายมีสิ่งมิใช่บุญเป็นต้นเหล่านั้น; เพราะฉะนั้น นระจึง
ไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น.
ในกาลจบเทศนา นายเขมกะดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. ตั้งแต่
นั้นมา มหาชนยังกาลให้ผ่านไปอย่างสบาย.

บุรพกรรมของนายเขมกะ


ถามว่า " ก็บุรพกรรมของนายเขมกะนั้น เป็นอย่างไร ? "
แก้ว่า " ดังได้สดับมา ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป

เขาเป็นนักมวยที่เก่งที่สุด ยกธงทอง 2 แผ่นขึ้นไว้ที่กาญจนสถูปของ
พระทศพลแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ว่า " เว้นหญิงที่เป็นญาติสาโลหิต
เสีย หญิงที่เหลือเห็นเราแล้วจงกำหนัด." นี้เป็นบุรพกรรมของเขาด้วย
ประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น หญิงของคนเหล่าอื่น เห็นเขาในที่เขาเกิดแล้ว
จึงไม่สามารถเพื่อจะดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้ ดังนี้แล.
เรื่องบุตรของเศรษฐีชื่อเขมกะ จบ

5. เรื่องภิกษุว่ายาก [227]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุว่ายาก
รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " กุโส ยถา " เป็นต้น.

ภิกษุเด็ดหญ้าแล้วสงสัย


ได้สดับมาว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ไม่แกล้ง เด็ดหญ้าต้นหนึ่ง เมื่อความ
รังเกียจเกิดขึ้น, จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง บอกความที่กรรมอันตนทำแล้ว
ถามว่า " ผู้มีอายุ ภิกษุใดเด็ดหญ้า, โทษอะไร ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น ? "
ลำดับนั้น ภิกษุนอกนี้ กล่าวกะเธอว่า " ท่านทำความสำคัญว่า ' โทษ
อะไร ๆ มี' เพราะเหตุแห่งหญ้าที่ท่านเด็ดแล้ว, โทษอะไร ๆ ย่อมไม่มี
ในที่นี้, แต่ท่านแสดงแล้ว ย่อมพ้นได้ แม้ตนเลงก็ได้เอามือทั้งสอง
ถอนหญ้าแล้วถือไว้. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา.

กรรมที่บุคคลทำย่อหย่อนไม่มีผลมาก


พระศาสดาทรงติเตียนภิกษุนั้นโดยอเนกปริยาย เมื่อทรงแสดงธรรม
ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-
5. กุโส ยถา ทุคฺคหิโต หตฺถเมวานุกนฺตติ
สามญฺญํ ทุปฺปรามฏฺฐํ นิรยายูปกฑฺฒติ.
ยํ กิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ สงฺกิลิฏฺฐญฺจ ยํ วตํ
สงฺกสฺสรํ พฺรหฺมจริยํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.
กยิรญฺเจ กยิรเถนํ1 ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม
สิถิโล หิ ปริพฺพาโช ภิยฺโย อากิรเต รชํ.
1. อรรถกถา. กยิรา เจ กยิราเถนํ ตรงกับฉบับพม่า.