เมนู

4. จตฺตาริ ฐานานิ นโร ปมตฺโต
อาปชฺชตี ปรทารูปเสวี
อปุญฺญลาภํ นนิกามเสยฺยํ
นินฺทํ ตติยํ นิรยํ จตุตฺถํ.
อปุญฺญลาโภ จ คติ จ ปาปิกา
ภีตสฺส ภีตาย รตี จ โถกิถา
ราชา จ ทณฺฑํ ครุกํ ปเณติ
ตสฺมา นโร ปรทารํ น เสว.
" นระผู้ประมาทชอบเสพภรรยาของคนอื่น ย่อม
ถึงฐานะ 4 อย่างคือ: การได้สิ่งที่มิใช่บุญ เป็นที่ 1
การนอนไม่ได้ตามความปรารถนา เป็นที่ 2 การ
นินทา เป็นที่ 3 นรก เป็นที่ 4. การได้สิ่งมิใช่บุญ
อย่างหนึ่ง, คติลามกอย่างหนึ่ง, ความยินดีของบุรุษผู้
กลัวกับด้วยหญิงผู้กลัว มีประมาณน้อยอย่างหนึ่ง,
พระราชาย่อมลงอาชญาอันหนักอย่างหนึ่ง, เพราะ-
ฉะนั้น นระไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฐานานิ ได้แก่ เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย .
บทว่า ปมตฺโต ได้แก่ ประกอบด้วยการปล่อยสติ. บทว่า อาปชฺชติ คือ
ย่อมถึง.

บทว่า ปรทารูปเสวี ความว่า เข้าไปเสพภรรยาของคนอื่นอยู่ ชื่อ
ว่ามักประพฤตินอกทาง.
บทว่า อปุญฺญลาภํ ได้แก่ การได้อกุศล.
บทว่า น นิกามเสยฺยํ ความว่า บุคคลนั้นไม่ได้การนอนอย่างที่
ตนปรารถนา ย่อมได้การนอนตลอดกาลนิดหน่อยเท่านั้น ซึ่งตนไม่
ปรารถนา.
บทว่า อปุญฺญลาโภ จ ความว่า การได้สิ่งอันไม่เป็นบุญนี้อย่างหนึ่ง
คติอันลามก กล่าวคือนรก เพราะสิ่งอันไม่เป็นบุญนั้น (เป็นเหตุ) อย่าง
หนึ่ง ย่อมมีแก่บุคคลนั้น อย่างนี้.
สองบทว่า รตี จ โถกิกา ความว่า แม้ความยินดีของบุรุษผู้กลัว
นั้น กับหญิงผู้กลัวมีประมาณน้อย คือมีนิดหน่อย.
บทว่า ครุกํ ความว่า อนึ่ง พระราชาย่อมลงอาชญาอย่างหนักด้วย
สามารถแห่งการตัดมือเป็นต้น.
บทว่า ตสฺมา เป็นต้น ความว่า บุคคลผู้เสพภรรยาของคนอื่น
ย่อมถึงฐานะทั้งหลายมีสิ่งมิใช่บุญเป็นต้นเหล่านั้น; เพราะฉะนั้น นระจึง
ไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น.
ในกาลจบเทศนา นายเขมกะดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. ตั้งแต่
นั้นมา มหาชนยังกาลให้ผ่านไปอย่างสบาย.

บุรพกรรมของนายเขมกะ


ถามว่า " ก็บุรพกรรมของนายเขมกะนั้น เป็นอย่างไร ? "
แก้ว่า " ดังได้สดับมา ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป