เมนู

พระศาสดาตรัสว่า " ถ้าอย่างนั้น แม้พวกเธอจงกลับโจทพวก
มนุษย์เหล่านั้นอย่างนั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
1. อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
โย วาปิ กตฺวา น กโรมีติ จาห
อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ
นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ.
" ผู้มักพูดคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก, หรือแม้
ผู้ใดทำแล้ว กล่าวว่า 'ข้าพเจ้ามิได้ทำ,' ชนแม้ทั้ง
สองนั้น เป็นมนุษย์มีกรรมเลวทราม ละไปในโลก
อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกัน. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภูตวาที ได้แก่ ผู้ไม่เห็นโทษของ
บุคคลอื่นเลย ทำการกล่าวเท็จ ตู่ผู้อื่นด้วยคำเปล่า.
บทว่า กตฺวา ความว่า หรือผู้ใดทำกรรมลามกแล้ว กล่าวว่า
" ข้าพเจ้ามิได้ทำกรรมนั่น. "
หลายบทว่า เปจฺจ สมา ภวนฺติ ความว่า ชนแม้ทั้งสองนั้นไปสู่
ปรโลก ย่อมเป็นผู้เสมอกันโดยคติ เพราะการเข้าถึงนรก, คติของชน
เหล่านั้นเท่านั้น ท่านผู้รู้กำหนดไว้แล้ว, แต่อายุของเขาท่านมิได้กำหนด
ไว้; เพราะว่าชนทั้งหลายทำบาปกรรมไว้มาก ย่อมไหม้ในนรกนาน ทำ
บาปกรรมไว้น้อย ย่อมไหม้สิ้นกาลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น; ก็เพราะกรรมที่

ลามกของชนแม้ทั้งสองนั้นนั่นเอง (เป็นเหตุ), เพราะฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ. "
ก็บทว่า ปรตฺถ สัมพันธ์เข้ากับบทว่า ' เปจฺจ ' ข้างหน้า. อธิบาย
ว่า ชนผู้มีกรรมเลวทรามเหล่านั้น ละไปในโลกอื่น คือไปจากโลกนี้
ย่อมเป็นผู้เสมอกันในปรโลก.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

พวกฆ่านางสุนทรีถูกประหารชีวิต


พระราชา ทรงส่งราชบุรุษไปด้วยรับสั่งว่า " พวกเธอจงรู้ความที่
คนอื่นฆ่านางสุนทรี. " ครั้งนั้น นักเลงเหล่านั้นดื่มสุราอยู่ด้วยกหาปณะ
เหล่านั้น ทำการทะเลาะกันและกัน. คนหนึ่งกล่าวกะคนหนึ่งว่า " แก
ฆ่านางสุนทรีด้วยประหารเพียงทีเดียวแล้ว หมกไว้ในระหว่างกองหยาก-
เยื่อแห่งระเบียบดอกไม้ ดื่มสุราด้วยกหาปณะที่ได้มาจากการประหารนั้น,
เรื่องนั้นยกเลิกเสียเถิด." พวกราชบุรุษจึงจับนักเลงนั้นไปแสดงแด่พระ-
ราชา. ลำดับนั้น พระราชา ตรัสถามนักเลงเหล่านั้นว่า " พวกเธอฆ่า
นางสุนทรีหรือ ? "
พวกนักเลง. ข้าแต่สมมติเทพ พระเจ้าข้า.
พระราชา. ใครใช้พวกเธอให้ฆ่า ?
พวกนักเลง. พวกอัญญเดียรถีย์ พระเจ้าข้า.
พระราชา รับสั่งให้เรียกพวกเดียรถีย์มาแล้ว ทรงบังคับว่า " พวก
เธอจงไปเที่ยวกล่าวทั่วพระนครอย่างนี้ว่า ' นางสุนทรีนี้ ถูกพวกข้าพเจ้า