เมนู

ปราศรัยบ่อยๆ ก็ไม่ได้คำตอบ จึงถามว่า " พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ถูก
ใครๆ เบียดเบียนบ้างหรือ ?"
เดียรถีย์. น้องหญิง นางไม่เห็นพระสมณโคดมที่เที่ยวเบียดเบียน
พวกเรา ทำให้เสื่อมลาภสักการะหรือ ?
นางสุนทรี. ดิฉันควรจะทำอย่างไร ในเรื่องนี้ ?
เดียรถีย์. น้องหญิง นางแลมีรูปสวย ถึงความเป็นผู้งามเลิศ จง
ยกโทษขึ้นแก่พระสมณโคดม แล้วให้มหาชนเชื่อถ้อยคำ ทำให้เสื่อมลาภ
สักการะ.
นางสุนทรีนั้น รับรองว่า " ดีละ " แล้วหลีกไป ตั้งแต่นั้นมา นาง
ถือเอาสิ่งของมีระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ การบูรและของ
เผ็ดร้อนเป็นต้น เดินบ่ายหน้าตรงไปยังพระเชตวัน ในเวลาที่มหาชนฟัง
พระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วกลับเข้าพระนครในเวลาเย็น, ถูก
มหาชนถามว่า " ไปไหน " ก็ตอบว่า " ไปสำนักพระสมณโคดม, ฉันอยู่
ในพระคันกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดมนั้น " แล้วอยู่ในอารามเดียรถีย์
แห่งใดแห่งหนึ่ง ย่างลงสู่ทาง (ที่ไปยัง) พระเชตวันแต่เช้าตรู่ เดินบ่ายหน้า
สู่พระนคร, นางถูกมหาชนถามว่า " ไปไหนสุนทรี ? " ตอบว่า " ฉันอยู่
ในพระคันกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดม ให้ท่านยินดีด้วยความยินดี
เพราะกิเลสแล้ว จึงกลับมา."

พวกภิกษุถูกพวกเดียรถีย์หาว่าฆ่านางสุนทรี


แต่นั้นมา โดยกาลล่วงไป 2-3 วัน พวกเดียรถีย์ให้กหาปณะ
แก่พวกนักเลงแล้วกล่าวว่า " พวกท่านจงไปฆ่านางสุนทรี แล้วหมกไว้

ที่ระหว่างกองหยากเยื่อแห่งระเบียบดอกไม้ ที่ใกล้พระคันธกุฎีของพระ-
สมณโคดมแล้วกลับมา. " พวกนักเลงก็ได้ทำอย่างนั้น.
ลำดับนั้น เดียรถีย์ทั้งหลายได้ทำความโกลาหลขึ้นว่า " พวกเรา
ไม่เห็นนางสุนทรี," แล้วทูลแด่พระราชา ถูกพระราชาตรัสถามว่า " พวก
ท่านมีความสงสัยที่ไหน ? " ทูลว่า " นางสุนทรีอยู่ในพระเชตวันสิ้นวัน
เท่านี้, พวกอาตมภาพไม่ทราบความเป็นไปของนางในพระเชตวันนั้น."
อันพระราชา ทรงอนุญาตว่า " ถ้ากระนั้น พวกท่านจงไป, ค้นพระ-
เชตวันนั้นดูเถิด," พาพวกอุปัฏฐากของตนไปยังพระเชตวัน ค้นอยู่ที่พบ
นางสุนทรีนั้น ในระหว่างกองหยากเยื่อแห่งระเบียบดอกไม้ จึงยกขึ้นเตียง
เข้าไปยังพระนคร ทูลแด่พระราชาว่า " พระสาวกของพระสมณโคดมฆ่า
นางสุนทรี แล้วหมกไว้ในระหว่างกองหยากเยื่อแห่งระเบียบดอกไม้ ด้วย
คิดว่า ' จักปกปิดกรรมลามกที่พระศาสดาทำ." พระราชา ตรัสว่า " ถ้า
อย่างนั้น พวกท่านจงไปเที่ยวประกาศให้ตลอดพระนครเถิด. " พวก
เดียรถีย์พากันกล่าวคำเป็นต้นว่า " ขอท่านทั้งหลาย จงดูกรรมของพวก
สมณสักยบุตรเถิด " ในถนนแห่งพระนครแล้ว ได้ไปยังพระทวารแห่ง
พระราชนิเวศน์อีก. พระราชา รับสั่งให้ยกสรีระของนางสุนทรีขึ้นใส่แคร่
ในป่าช้าผีดิบแล้วให้รักษาไว้. ชาวพระนครสาวัตถีเว้นพระอริยสาวก
ที่เหลือโดยมากพากันกล่าวคำเป็นต้นว่า " ขอท่านทั้งหลาย จงดูกรรมของ
พวกสมณสักยบุตรเถิด " แล้วเที่ยวด่าพวกภิกษุ ในภายในพระนครบ้าง
ภายนอกพระนครบ้าง ในป่าบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระตถาคต.

พระศาสดาตรัสว่า " ถ้าอย่างนั้น แม้พวกเธอจงกลับโจทพวก
มนุษย์เหล่านั้นอย่างนั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
1. อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
โย วาปิ กตฺวา น กโรมีติ จาห
อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ
นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ.
" ผู้มักพูดคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก, หรือแม้
ผู้ใดทำแล้ว กล่าวว่า 'ข้าพเจ้ามิได้ทำ,' ชนแม้ทั้ง
สองนั้น เป็นมนุษย์มีกรรมเลวทราม ละไปในโลก
อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกัน. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภูตวาที ได้แก่ ผู้ไม่เห็นโทษของ
บุคคลอื่นเลย ทำการกล่าวเท็จ ตู่ผู้อื่นด้วยคำเปล่า.
บทว่า กตฺวา ความว่า หรือผู้ใดทำกรรมลามกแล้ว กล่าวว่า
" ข้าพเจ้ามิได้ทำกรรมนั่น. "
หลายบทว่า เปจฺจ สมา ภวนฺติ ความว่า ชนแม้ทั้งสองนั้นไปสู่
ปรโลก ย่อมเป็นผู้เสมอกันโดยคติ เพราะการเข้าถึงนรก, คติของชน
เหล่านั้นเท่านั้น ท่านผู้รู้กำหนดไว้แล้ว, แต่อายุของเขาท่านมิได้กำหนด
ไว้; เพราะว่าชนทั้งหลายทำบาปกรรมไว้มาก ย่อมไหม้ในนรกนาน ทำ
บาปกรรมไว้น้อย ย่อมไหม้สิ้นกาลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น; ก็เพราะกรรมที่