เมนู

คาถาธรรมบท



นิรยวรรค1ที่ 22



ว่าด้วยผู้มีธรรมเลวไปนรก


[32] 1. ผู้มักพูดคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก หรือแม้
ผู้ใดทำแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้ามิได้ทำ ชนแม้ทั้งสอง
นั้น เป็นมนุษย์มีกรรมเลวทราม ละไปในโลกอื่นแล้ว
ย่อมเป็นผู้เสมอกัน.
2. ชนเป็นอันมาก มีคอพันด้วยผ้ากาสาวะ เป็น
ผู้มีธรรมลามก ไม่สำรวม ชนผู้ลามกเหล่านั้น ย่อม
เข้าถึงนรก เพราะกรรมลามกทั้งหลาย.
3. ก้อนเหล็กอันร้อนประหนึ่งเปลวไฟ ภิกษุ
บริโภคยังดีกว่าภิกษุผู้ทุศีล ไม่สำรวม บริโภคก้อน
ข้าวของชาวแว่นแคว้น จะประเสริฐอะไร.
4. นระผู้ประมาทชอบเสพภรรยาของคนอื่น
ย่อมถึงฐานะ 4 อย่าง คือ การได้สิ่งที่มิใช่บุญ เป็น
ที่ 1 การนอนไม่ได้ตามความปรารถนา เป็นที่ 2
การนินทา เป็นที่ 3 นรก เป็นที่ 4. การได้สิ่ง
มิใช่บุญอย่างหนึ่ง คติลามกอย่างหนึ่ง ความยินดี
ของบุรุษผู้กลัว กับด้วยหญิงผู้กลัว มีประมาณน้อย
อย่างหนึ่ง พระราชาย่อมลงอาญาอันหนักอย่างหนึ่ง
เพราะฉะนั้น นระไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น.

1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 9 เรื่อง.

5. หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี ย่อมตามบาดมือ
นั่นเองฉันใด คุณเครื่องเป็นสมณะที่บุคคลลูบคลำ
ไม่ดี ย่อมคร่าเขาไปในนรกฉันนั้น. การงานอย่าง
ใดอย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน วัตรใดที่เศร้าหมอง พรหม-
จรรย์ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ กรรมทั้ง 3 อย่างนั้น
ย่อมไม่มีผลมาก. หากว่าบุคคลพึงทำกรรมใด ควร
ทำกรรมนั้นให้จริง ควรบากบั่นทำกรรมนั้นให้มั่น
เพราะว่าสมณธรรมเครื่องละเว้นที่ย่อหย่อน ยิ่งเกลี่ย
ธุลีลง.
6. กรรมชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า (เพราะ)
กรรมชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง ส่วนบุคคลทำ
กรรมใดแล้ว ไม่ตามเดือดร้อน กรรมนั้นเป็นกรรมดี
อันบุคคลทำแล้วดีกว่า.
7. ท่านทั้งหลายควรรักษาตน เหมือนกับพวก
มนุษย์ป้องกันปัจจันตนคร ทั้งภายในและภายนอก
ฉะนั้น. ขณะอย่าได้ล่วงท่านทั้งหลายเสีย เพราะว่า
ชนทั้งหลายผู้ล่วงเสียงขณะ เป็นผู้เบียดเสียดกัน
ในนรก เศร้าโศกอยู่.
8. สัตว์ทั้งหลาย ย่อมละอายเพราะสิ่งอันไม่
ควรละอาย ไม่ละอายเพราะสิ่งอันควรละอาย สมา-
ทานมิจฉาทิฏฐิ ย่อมถึงทุคติ. สัตว์ทั้งหลายย่อม

ละอายเพราะสิ่งอันควรละอาย สมาทานมิจฉาทิฏฐิ
ย่อมถึงทุคติ สัตว์ทั้งหลายมีปกติเห็นในสิ่งอันไม่ควร
กลัวว่าควรกลัว และมีปกติเห็นในสิ่งอันควรกลัวว่าไม่
ควรกลัว สมาทานมิจฉาทิฏฐิ ย่อมเข้าถึงทุคติ.
9. สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษ ในธรรม
ที่หาโทษนี้ได้ มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ ในธรรมที่
มีโทษ เห็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ
สัตว์ทั้งหลายรู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมมีโทษ
รู้ธรรมที่หาโทษมิได้โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ ย่อมไปสู่สุคติ.

จบนิรยวรรคที่ 22

22. นิรยวรรควรรณนา



1. เรื่องนางปริยาชิกาชื่อสุนทรี [223]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางปริพาชิกา
ชื่อสุนทรี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อภูตวาที " เป็นต้น.

พวกเดียรถีย์คิดตัดลาภสักการะพระศาสดา


เรื่องมาโดยพิสดารในอุทานนั่นแลว่า " ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นผู้อันมหาชนสักการะ ทำความเคารพ นับถือ บูชาแล้ว "
เป็นต้น. ส่วนเนื้อความย่อในเรื่องนี้ มีดังต่อไปนี้ :-
ได้ยินว่า เมื่อลาภสักการะเช่นกับห้วงน้ำใหญ่แห่งปัญจมหานที เกิด
ขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์แล้ว, พวกอัญญเดียรถีย์ก็เสื่อมลาภ
สักการะ เป็นผู้อับแสง ประหนึ่งหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ร่วม
ประชุมปรึกษากันว่า " ตั้งแต่กาลแห่งพระสมณโคดมอุบัติขึ้น พวกเรา
ก็เสื่อมลาภสักการะ, ใคร ๆ ย่อมไม่รู้แม้ความที่เราทั้งหลายมีอยู่, พวกเรา
จะพึงรวมกันกับใครหนอ ? ก่อโทษให้เกิดขึ้นแก่พระสมณโคดม แล้วยัง
ลาภสักการะของเธอให้เสื่อมสูญ. "

พวกเดียรถีย์ให้นางสุนทรี ทำลายพระเกียรติพระศาสดา


ครั้งนั้น ความคิดได้เกิดขึ้นแก่อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นว่า " พวกเรา
ร่วมกับนางสุนทรีจักสามารถ (ทำได้)." วันหนึ่ง พวกเขา (แกล้ง) ไม่
สนทนากะนางสุนทรี ผู้เข้าไปยังอารามเดียรถีย์ ไหว้แล้วยืนอยู่. นางแม้