เมนู

ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นภายในของสัตว์เหล่านี้แล้ว ย่อมให้สัตว์เหล่านั้น
เกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ให้ถึงความพินาศ ' ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระ-
คาถานี้ว่า :-
3. อยสา ว มลํ สมุฏฺฐิตํ
ตหุฏฺฐาย ตเมว ขาทติ
เอวํ อติโธนจารินํ
สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ.

"สนิมตั้งขึ้นแต่เหล็ก ครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กแล้ว
ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด; กรรมทั้งหลายของตน
ย่อมนำบุคคลผู้มักประพฤติล่วงปัญญาชื่อว่าโธนา ไป
สู่ทุคติ ฉันนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยสา คือแต่เหล็ก. บทว่า สมุฏฺฐิตํ
คือตั้งขึ้นแล้ว. บทว่า ตทุฏฺฐาย คือครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กนั้น.
ในบทว่า อติโธนจารินํ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังนี้.
ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาปัจจัย 4 ว่า " การบริโภคนี้ เป็นประ-
โยชน์ด้วยปัจจัยเหล่านี้" แล้วบริโภค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าโธนา,
บุคคลประพฤติก้าวล่วงปัญญาชื่อว่าโธนานั่น ชื่อว่า อติโธนจารี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า " สนิมเกิดขึ้นแต่
เหล็ก ตั้งขึ้นแต่เหล็ก ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด; กรรมทั้งหลายของ
ตน คือกรรมเหล่านั้นชื่อว่าเป็นของตนนั่นแหละ เพราะตั้งขึ้นในตน

ย่อมนำบุคคลผู้ไม่พิจารณาปัจจัย 4 แล้วบริโภค ชื่อว่าผู้ประพฤติก้าวล่วง
ปัญญาชื่อว่าโธนา ไปสู่ทุคติ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระติสสเถระ จบ.

4. เรื่องพระโลฬุทายีเถระ [185]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระโลฬุทายี-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อสชฺฌายมลา มนฺตา" เป็นต้น.

พระโลฬุทายีอวดดีอยากแสดงธรรม


ดังได้สดับมา พวกอริยสาวกประมาณ 5 โกฏิในพระนครสาวัตถี
ถวายทานในเวลาก่อนภัตแล้ว ในเวลาหลังภัตจึงถือวัตถุทั้งหลายมีเนยใส
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และผ้าเป็นต้น ไปวิหารแล้วฟังธรรมกถาอยู่,
ก็ในเวลาฟังธรรมแล้วเดินไป ย่อมกล่าวคุณของพระสารีบุตรและพระ-
โมคคัลลานะ.
พระอุทายีเถระ สดับถ้อยคำของอริยสาวกเหล่านั้นแล้ว จึงพูดว่า
" พวกท่านฟังธรรมกถาของพระเถระทั้งสองนั้น ยังกล่าวถึงอย่างนั้นก่อน,
ฟังธรรมกถาของฉันแล้ว จักกล่าวอย่างไรหนอแล ?"
พวกมนุษย์ ฟังถ้อยคำของท่านแล้วคิดว่า " พระเถระแม้นี้ จัก
เป็นพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง, พวกเราฟังธรรมกถาของพระเถระแม้นี้
ควร." วันหนึ่ง พวกเขาอาราธนาพระเถระว่า1 " ท่านขอรับ วันนี้เป็น
วันฟังธรรมของพวกกระผม," ถวายทานแก่พระสงฆ์แล้วพูดว่า " ท่าน
ขอรับ ขอท่านพึงกล่าวธรรมกถาในกลางวันเถิด." ฝ่ายพระเถระนั้น
รับนิมนต์ของพวกมนุษย์นั้นแล้ว.

พระเถระไม่สามารถแสดงธรรมได้


เมื่อพวกมนุษย์นั้นมาในเวลาฟังธรรมแล้ว พูดว่า "ท่านขอรับ
1. ยาจิตฺวา=ขอหรือวิงวอน.