เมนู

ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นภายในของสัตว์เหล่านี้แล้ว ย่อมให้สัตว์เหล่านั้น
เกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ให้ถึงความพินาศ ' ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระ-
คาถานี้ว่า :-
3. อยสา ว มลํ สมุฏฺฐิตํ
ตหุฏฺฐาย ตเมว ขาทติ
เอวํ อติโธนจารินํ
สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ.

"สนิมตั้งขึ้นแต่เหล็ก ครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กแล้ว
ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด; กรรมทั้งหลายของตน
ย่อมนำบุคคลผู้มักประพฤติล่วงปัญญาชื่อว่าโธนา ไป
สู่ทุคติ ฉันนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยสา คือแต่เหล็ก. บทว่า สมุฏฺฐิตํ
คือตั้งขึ้นแล้ว. บทว่า ตทุฏฺฐาย คือครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กนั้น.
ในบทว่า อติโธนจารินํ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังนี้.
ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาปัจจัย 4 ว่า " การบริโภคนี้ เป็นประ-
โยชน์ด้วยปัจจัยเหล่านี้" แล้วบริโภค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าโธนา,
บุคคลประพฤติก้าวล่วงปัญญาชื่อว่าโธนานั่น ชื่อว่า อติโธนจารี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า " สนิมเกิดขึ้นแต่
เหล็ก ตั้งขึ้นแต่เหล็ก ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด; กรรมทั้งหลายของ
ตน คือกรรมเหล่านั้นชื่อว่าเป็นของตนนั่นแหละ เพราะตั้งขึ้นในตน