เมนู

สองบทว่า รตฺตึ ขิตฺตา คือเหมือนลูกศรที่ยิงไปในราตรี คือในที่
มืด ประกอบด้วยองค์1 4.
อธิบายว่า อสัตบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ปรากฏเพราะความไม่มีแห่ง
บุรพเหตุ ซึ่งเป็นอุปนิสัยเห็นปานนั้น.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น.

วิสสุกรรมนิรมิตเรือนยอด 500 หลัง


แม้ท้าวสักกเทวราชแล ทรงทราบว่า " พระศาสดาทรงรับนิมนต์
ของนางจูฬสุภัททาแล้ว " ทรงบังคับวิสสุกรรมเทพบุตรว่า " ท่านจงนิรมิต
เรือนยอด 500 หลัง แล้วนำภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ไปสู่
อุคคนครในวันพรุ่งนี้.
ในวันรุ่งขึ้น วิสสุกรรมเทพบุตรนั้น นิรมิตเรือนยอด 500 หลัง
แล้ว ได้ยืนอยู่ที่ประตูแห่งพระเชตวัน. พระศาสดาทรงเลือกแล้ว พา
ภิกษุขีณาสพผู้บริสุทธิ์ทั้งนั้น 500 รูป พร้อมด้วยบริวารประทับนั่งใน
เรือนยอดแล้ว ได้เสด็จไปยังอุคคนคร.

อุคคเศรษฐีกลับเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา


แม้อุคคเศรษฐีพร้อมด้วยบริวาร แลดูทางเสด็จมาแห่งพระตถาคต
โดยนัยอันนางสุภัททาให้แล้ว เห็นพระศาสดาเสด็จมาด้วยสิริสมบัติใหญ่
เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว ทำสักการะด้วยวัตถุทั้งหลาย มีระเบียบดอกไม้
เป็นต้น ต้อนรับแล้ว ถวายบังคม ถวายมหาทาน นิมนต์ซ้ำอีก ได้
ถวายมหาทานสิ้น 7 วัน.
1. วันแรม 14-15 ค่ำ 1 เที่ยงคืน 1 ดงทึบ 1 ก้อนเมฆ 1.

แม้พระศาสดา ทรงกำหนดธรรมเป็นที่สบายของเศรษฐีนั้นแล้ว
ทรงแสดงธรรม. สัตว์ 84,000 ทำเศรษฐีนั้นให้เป็นต้น ได้ตรัสรู้
ธรรมแล้ว.
พระศาสดา เพื่อทรงอนุเคราะห์นางสุภัททา จึงรับสั่งให้พระ-
อนุรุทธเถระกลับ ด้วยพระดำรัสว่า " เธอจงพักอยู่ในที่นี่แหละ " แล้วได้
เสด็จไปยังกรุงสาวัตถีทีเดียว. ตั้งแต่นั้นมา ชาวนครนั้นได้มีศรัทธาเลื่อมใส
ดังนี้แล.
เรื่องนางจูฬสุภัททา จบ.

9. เรื่องพระเถระชื่อเอกวิหารี [222]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ
ชื่อเอกวิหารี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เอกาสนํ " เป็นต้น.

พวกภิกษุทูลเรื่องพระเถระแด่พระศาสดา


ได้ยินว่า พระเถระนั้นได้เป็นผู้ในปรากฏในระหว่างแห่งบริษัท 4 ว่า
" นั่งอยู่แต่ผู้เดียว เดินแต่ผู้เดียว ยืนแต่ผู้เดียว." ต่อมาภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลพระเถระนั้นแด่พระตถาคตว่า " พระเถระนี้ ชื่อว่ามีรูปอย่างนี้
พระเจ้าข้า."

ภิกษุพึงเป็นผู้สงัด


พระศาสดาประทานสาธุการว่า " สาธุ สาธุ " ดังนี้แล้วทรงสั่งสอน
ว่า " ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้สงัด " แล้วตรัสอานิสงส์ในวิเวก แล้วจึง
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
9. เอกาสนํ เอกเสยฺยํ เอโก จรมตนฺทิโต
เอโก ทมยมตฺตานํ วนนฺเต รมิโต สิยา.
" ภิกษุพึงเสพที่นั่งคนเดียว ที่นอนคนเดียว, พึง
เป็นผู้เดียว ไม่เกียจคร้านเที่ยวไปเป็นผู้เดียว ทรมาน
ตน เป็นผู้ยินดียิ่งไปราวป่า."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เอกาสนํ เอกเสยฺยํ ความว่า ที่
นั่งของภิกษุผู้ไม่ละมูลกัมมัฏฐาน นั่งแม้ในท่ามกลางแห่งภิกษุตั้งพัน ด้วย