เมนู

8. เรื่องนางจูฬสุภัททา [221]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภธิดาของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ชื่อจูฬสุภัททา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ทูเร
สนฺโต ปกาเสนฺติ "
เป็นต้น.

สองเศรษฐีทำกติกาต่อกัน


ดังได้สดับมา เศรษฐีบุตรชื่ออุคคะ ชาวอุคคนครได้เป็นสหายของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ตั้งแต่เวลาที่ยังเป็นหนุ่ม. สหายทั้งสองนั้น เรียน
ศิลปะอยู่ในตระกูลอาจารย์เดียวกัน ทำกติกาต่อกันว่า " ในเวลาที่เรา
ทั้งสองเจริญวัย เมื่อบุตรและธิดาเกิดแล้ว, ผู้ใดขอธิดาเพื่อประโยชน์แก่
บุตร: ผู้นั้นต้องให้ธิดาแก่ผู้นั้น " เขาทั้งสองเจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ใน
ตำแหน่งเศรษฐีในนครของตน ๆ.
สมัยหนึ่ง อุคคเศรษฐีประกอบการค้าขาย ได้ไปยังกรุงสาวัตถีด้วย
เกวียน 500 เล่ม. อนาถบิณฑิกเศรษฐี เรียกนางจูฬสุภัททาธิดาของตน
มาสั่งว่า " แม่ บิดาของเจ้าชื่ออุคคเศรษฐีมา, กิจที่ควรทำแก่เขา จงเป็น
ภาระของเจ้า. "

อุคคเศรษฐีขอนางจูฬสุภัททาเพื่อบุตร


นางรับว่า " ดีละ " จึงจัดโภชนะมีแกงและกับเป็นต้น ด้วยมือของ
ตนเอง จำเดิมแต่วันอุคคเศรษฐีนั้นมา, เตรียมวัตถุต่าง ๆ มีระเบียบ
ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้เป็นต้นไว้, ในเวลาบริโภค ก็จัดน้ำ
สำหรับอาบไว้ (คอย) ท่านเศรษฐีนั้น ตั้งแต่เวลาอาบน้ำไป ย่อมทำกิจ
ทุกอย่างสำเร็จเรียบร้อย.

อุคคเศรษฐี เห็นอาจารสมบัติของนางสุภัททานั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส
ในวัน หนึ่ง นั่งอยู่กับ1อนาถบิณฑิกเศรษฐี ด้วยกถาอันปรารภความสุข
แล้ว นึกได้ว่า " ในเวลายังเป็นหนุ่ม เราทั้งสองทำกติกาชื่ออย่างนี้ไว้
แล้ว " จึงขอนางจูฬสุภัททา เพื่อประโยชน์แก่บุตรของตน. แต่อุคค-
เศรษฐีนั้นโดยปกติเป็นมิจฉาทิฏฐิ; เพราะฉะนั้น อนาถบิณฑิกเศรษฐี
จึงกราบทูลความนั้นแด่พระทศพล อันพระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของ
อุคคเศรษฐีแล้วทรงอนุญาต, จึงปรึกษากับภรรยา แล้วรับคำของอุคค-
เศรษฐีนั้น กำหนดวัน (แต่งงาน) แล้ว, ทำสักการะเป็นอันมาก เหมือน
อย่างธนญชัยเศรษฐีทำให้นางวิสาขาผู้เป็นธิดา แล้วส่งไปฉะนั้น, เรียกนาง
สุภัททามาแล้ว ให้โอวาท 10 ข้อ เป็นต้นว่า " แม่ ธรรมดาสตรีผู้อยู่
ในตระกูลพ่อผัว ไม่ควรนำไฟภายในออกไปภายนอก " โดยนัยที่ธนญชัย-
เศรษฐีให้แก่นางวิสาขานั่นแล เมื่อจะส่งไป ยึดเอากุฎุมพี 8 คนให้เป็นผู้
รับรองว่า " ถ้าโทษของธิดาข้าพเจ้าเกิดขึ้นในที่ไปแล้ว, พวกท่านต้อง
ชำระ, " ในวันเป็นที่ส่งธิดานั้นไป ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว, ส่งธิดาไปด้วยสักการะเป็นอันมาก ประหนึ่งจะ
แสดงความเจริญแห่งผลสุจริตทั้งหลาย อันธิดาทำไว้แล้วในภพก่อนให้
ปรากฏแก่ชาวโลก. ในเวลานางถึงอุคคนครโดยลำดับ มหาชนพร้อมกับ
ตระกูลพ่อผัว ได้ทำการต้อนรับ.
ฝ่ายนางจูฬสุภัททานั่น แสดงตนแก่ชาวนครทั้งสิ้น เหมือนนาง
วิสาขา เพื่อทำสิริสมบัติของตนให้ปรากฏ ยืนอยู่บนรถเข้าไปสู่นคร รับ
เครื่องบรรณาการที่ชาวนครส่งมาแล้ว ส่งไป [ตอบแทน] แก่ชนเหล่า
1. นั่งสนทนากันตามสบายกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี.

นั้น ๆ ด้วยสามารถแห่งวัตถุตามสมควร ได้ทำชาวนครทั้งสิ้นให้เนื่อง
เป็นอันเดียวกับด้วยคุณของตน.

พ่อผัวให้นางจูฬสุภัททาไหว้ชีเปลือย


ก็ในวันมงคลเป็นต้น พ่อผัวของนาง เมื่อจะทำสักการะแก่พวก
ชีเปลือย ส่งไปด้วยคำว่า " นางจงมาไหว้พระสมณะทั้งหลายของพวกเรา. "
นางไม่อาจเพื่อจะดูชีเปลือยทั้งหลาย เพราะละอาย ไม่ปรารถนาจะไป. พ่อ
ผัวนั้น แม้ส่ง (ข่าว) ไปบ่อย ๆ ถูกนางห้ามแล้ว จึงโกรธพูดว่า " พวก
เธอจงขับไล่มันไปเสีย. " นางคิดว่า " พ่อผัวไม่อาจยกโทษแก่เรา เพราะ
เหตุไม่สมควรได้ " ให้คนเรียกกุฎุมพีมาแล้ว บอกความนั้น. กุฏุมพี
เหล่านั้น ทราบความที่นางไม่มีโทษ จึงให้เศรษฐียินยอมแล้ว. เขาบอก
แก่ภรรยาว่า " ลูกสะใภ้นี้ไม่ไหว้พระสมณะทั้งหลายของเรา ด้วยเข้าใจว่า
" เป็นผู้ไม่มีความละอาย."
ภรรยาเศรษฐีนั้น คิดว่า " พวกสมณะของลูกสะใภ้นี้ เป็นเช่นไร
หนอแล ? นางสรรเสริญพระสมณะเหล่านั้นเหลือเกิน " ให้คนเรียกนาง
มาแล้ว พูดว่า :-
" พวกพระสมณะของเจ้า เป็นเช่นไร ? เจ้าจึง
สรรเสริญพระสมณะเหล่านั้นนักหนา. พระสมณะ
เหล่านั้น มีปกติอย่างไร ? มีสมาจารอย่างไร ? เจ้า
อันเราถามแล้ว จงบอกเรื่องนั้นแก่เรา."

ลำดับนั้น นางสุภัททาประกาศคุณทั้งหลายของพระพุทธเจ้า และ
พระสาวกของพระพุทธเจ้า แก่แม่ผัวนั้นอยู่ ให้แม่ผัวยินดีแล้วด้วยคำ
ทั้งหลายมีเป็นต้นอย่างนี้ว่า :-