เมนู

ยศและโภคะ จะไปประเทศใด ๆ, ย่อมเป็นผู้อัน
เขาบูชาแล้ว ในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺโธ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยศรัทธา
อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ.
บทว่า สีเลน ความว่า ศีลมี 2 อย่าง คือ ศีลสำหรับผู้ครองเรือน 1
ศีลสำหรับผู้ไม่ครองเรือน 1, ใน 2 อย่างนั้น ศีลสำหรับผู้ครองเรือน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในบทนี้, ความว่า ผู้ประกอบด้วยศีล
สำหรับผู้ครองเรือนนั้น.
บาทพระคาถาว่า ยโสโภคสมปฺปิโต ความว่า ผู้ประกอบแล้วด้วย
ยศสำหรับผู้ครองเรือน กล่าวคือความมีอุบาสก 500 เป็นบริวาร เช่น
ของชนทั้งหลาย มีอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้น และด้วยโภคะ 2 อย่าง
(คือ) โภคะมีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้นอย่างหนึ่ง คืออริยทรัพย์ 7
อย่างหนึ่ง.
สองบทว่า ยํ ยํ เป็นต้น ความว่า กุลบุตรผู้เห็นปานนี้ ไปสู่ประเทศ
ใด ๆ ในทิศทั้งหลายมีทิศตะวันออกเป็นต้น; ย่อมเป็นผู้อันเขาบูชาแล้วใน
ประเทศนั้นๆ ด้วยลาภและสักการะเห็นปานนั้นเทียว.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องจิตตคฤหบดี จบ.

8. เรื่องนางจูฬสุภัททา [221]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภธิดาของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ชื่อจูฬสุภัททา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ทูเร
สนฺโต ปกาเสนฺติ "
เป็นต้น.

สองเศรษฐีทำกติกาต่อกัน


ดังได้สดับมา เศรษฐีบุตรชื่ออุคคะ ชาวอุคคนครได้เป็นสหายของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ตั้งแต่เวลาที่ยังเป็นหนุ่ม. สหายทั้งสองนั้น เรียน
ศิลปะอยู่ในตระกูลอาจารย์เดียวกัน ทำกติกาต่อกันว่า " ในเวลาที่เรา
ทั้งสองเจริญวัย เมื่อบุตรและธิดาเกิดแล้ว, ผู้ใดขอธิดาเพื่อประโยชน์แก่
บุตร: ผู้นั้นต้องให้ธิดาแก่ผู้นั้น " เขาทั้งสองเจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ใน
ตำแหน่งเศรษฐีในนครของตน ๆ.
สมัยหนึ่ง อุคคเศรษฐีประกอบการค้าขาย ได้ไปยังกรุงสาวัตถีด้วย
เกวียน 500 เล่ม. อนาถบิณฑิกเศรษฐี เรียกนางจูฬสุภัททาธิดาของตน
มาสั่งว่า " แม่ บิดาของเจ้าชื่ออุคคเศรษฐีมา, กิจที่ควรทำแก่เขา จงเป็น
ภาระของเจ้า. "

อุคคเศรษฐีขอนางจูฬสุภัททาเพื่อบุตร


นางรับว่า " ดีละ " จึงจัดโภชนะมีแกงและกับเป็นต้น ด้วยมือของ
ตนเอง จำเดิมแต่วันอุคคเศรษฐีนั้นมา, เตรียมวัตถุต่าง ๆ มีระเบียบ
ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้เป็นต้นไว้, ในเวลาบริโภค ก็จัดน้ำ
สำหรับอาบไว้ (คอย) ท่านเศรษฐีนั้น ตั้งแต่เวลาอาบน้ำไป ย่อมทำกิจ
ทุกอย่างสำเร็จเรียบร้อย.