เมนู

6. ทุปฺปพฺพชฺชํ ทุรภิรมํ ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
ทุกฺโข สมานสํวาโส ทุกฺขานุปติตทฺธคู
ตสฺมา น จทฺธคู สิยา น จ ทุกฺขานุปติโต สิยา.

"การบวชก็ยาก การยินดีก็ยาก เรือนที่ปกครอง
ไม่ดี ให้เกิดทุกข์ การอยู่ร่วมกับผู้เสมอกัน1 เป็น
ทุกข์ ผู้เดินทางไกล ก็ถูกทุกข์ติดตาม, เพราะฉะนั้น
ไม่พึงเป็นผู้เดินทางไกล และไม่พึงเป็นผู้อันทุกข์
ติดตาม."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุปฺกพฺพชฺชํ ความว่า ชื่อว่า การละ
กองแห่งโภคะน้อยก็ตาม มากก็ตาม และเครือญาติ บวชมอบอุระ (ถวาย
ชีวิต) ในศาสนานี้ เป็นการยาก.
บทว่า ทุรภิรมํ ความว่า การที่กุลบุตรแม้บวชแล้วอย่างนั้น สืบ
ต่อความเป็นไปแห่งชีวิต ด้วยการเที่ยวไปเพื่อภิกษา ยินดียิ่ง ด้วยสามารถ
แห่งการคุ้มครองคุณคือศีลอันไม่มีประมาณ และบำเพ็ญข้อปฏิบัติธรรม
อันสมควรแก่ธรรมให้บริบูรณ์ เป็นการยาก.
บทว่า ทุราวาสา ความว่า ก็ราชกิจของพระราชา อิสรกิจของ
อิสรชนทั้งหลาย อันผู้ครองเรือนต้องนำไป, ชนข้างเคียงและสมณ-
พราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม อันผู้ครองเรือนต้องสงเคราะห์, แม้เมื่อเป็น
อย่างนี้ การครองเรือนก็เต็มได้ยาก เหมือนหม้อที่ทะลุและมหาสมุทร;
เพราะฉะนั้น ชื่อว่าเรือนเหล่านั่น ที่ปกครองไม่ดีจึงชื่อว่าให้เกิดทุกข์
1. ตามนัยอรรถกถา ประสงค์จะให้หมายความว่า การอยู่ร่วมกับผู้ไม่เสมอกัน.

คือให้ลำบากเพื่อจะอยู่ครอบครอง เพราะเหตุนั้นนั่นแล.
บาทพระคาถาว่า ทุกฺโข สมานสํวาโส ความว่า จริงอยู่ ชนเหล่า
ใดเป็นคฤหัสถ์ แม้เสมอกันโดยชาติ โคตร ตระกูล และโภคะก็ตาม เป็น
บรรพชิต เสมอกันโดยคุณทั้งหลาย มีศีล อาจาระและพาหุสัจจะเป็นต้น
ก็ตาม (แต่) กล่าวคำเป็นต้นว่า "ท่านเป็นใคร ? เราเป็นใคร ?" เป็น
ผู้ขวนขวายในอธิกรณ์อยู่, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าผู้ไม่เสมอกัน, ชื่อว่าการ
อยู่ร่วมกับชนเหล่านั้นเป็นทุกข์.
บาทพระคาถาว่า ทุกฺขานุปติตทฺธคู ความว่า ชนเหล่าใดชื่อว่า
ผู้เดินทางไกล เพราะความเป็นผู้ดำเนินไปสู่ทางไกล กล่าวคือวัฏฏะ; ชน
เหล่านั้นถูกทุกข์ติดตามแท้.
สองบทว่า ตสฺมา น จทฺธคู ความว่า แม้ความเป็นผู้อันทุกข์ติด
ตาม ก็เป็นทุกข์ แม้ความเป็นผู้เดินทางไกล ก็เป็นทุกข์; เพราะฉะนั้น
บุคคลไม่พึงเป็นผู้ชื่อว่าเดินทางไกล เพราะการเดินทางไกลกล่าวคือวัฏฏะ
ด้วย ไม่พึงเป็นผู้อันทุกข์มีประการดังกล่าวแล้วติดตามด้วย.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นเบื่อหน่ายในทุกข์ที่พระองค์ตรัสใน
ฐานะ 5 แล้ว ทำลายสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ1 5 อันเป็นส่วนเบื้อง
สูง2 5 ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุวัชชีบุตร จบ.
1. สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ. 2. รูปราคะ อรูปราคะ มานะ
อุทธัจจะ อวิชชา.

7. เรื่องจิตตคฤหบดี [220]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภจิตตคฤหบดี
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน " เป็นต้น.

ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่จิตตคฤหบดี


เรื่องข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว ในวรรณนาแห่งพระคาถา ในพาล-
วรรคว่า " อสนฺตํ ภาวมิจฺเฉยฺย " เป็นต้น. แม้พระคาถา (นี้) ก็มา
แล้วในพาลวรรคนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ ในพาลวรรคนั้น ข้าพเจ้ากล่าว
ไว้ว่า
(พระอานนทเถระ ทูลถามพระศาสดาว่า) " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็สักการะนี้เกิดขึ้นแก่คฤหบดีนั่น แม้ผู้มาสู่สำนักของพระองค์เท่านั้น
หรือ ? หรือแม้ไปในที่อื่นก็เกิดขึ้นเหมือนกัน ? "
พระศาสดาตรัสว่า " อานนท์ เมื่อจิตตคฤหบดีนั้นมาสู่สำนักของเรา
ก็ดี ไปในที่อื่นก็ดี, สักการะย่อมเกิดขึ้นทั้งนั้น, เพราะอุบาสกนี้ เป็นผู้มี
ศรัทธาเลื่อมใส สมบูรณ์ด้วยศีล, อุบาสกผู้เห็นปานนี้ ย่อมไปประเทศ
ใดๆ; ลาภสักการะย่อมเกิดแก่เขาในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว " ดังนี้แล้ว จึง
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
7. สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน ยโสโภคสมปฺปิโต
ยํ ยํ ปเทสํ ภชติ ตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโต.
" ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อมด้วย