เมนู

และข้าราชบริพารทั้งหลาย มีอุปราชและเสนาบดีเป็นต้นของพระราชา
เหล่านั้น ก็มีจำนวนเท่านั้นเหมือนกัน ซึ่งมีอยู่ในกรุงไพศาลี ประดับ
ประดาแล้ว ก้าวลงสู่ถนนเพื่อต้องการจะเล่นนักษัตร, จงกรม (เดินกลับ
ไปกลับมา) อยู่ที่จงกรมใหญ่ ประมาณ 60 ศอก เห็นพระจันทร์เต็มดวง
เด่นอยู่ในกลางท้องฟ้า ยืนพิงแผ่นกระดาน ณ ที่สุดจงกรมแล้ว มองดู
อัตภาพประดุจไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า เพราะความที่ตนเว้นแล้วจากผ้าสำหรับ
โพกและเครื่องอลังการ คิดอยู่ว่า "คนอื่นที่เลวกว่าเรา มีอยู่หรือหนอ ?"
แม้ประกอบด้วยคุณมีการอยู่ป่าเป็นวัตรเป็นต้นตามปกติ ในขณะนั้น ถูก
ความไม่ยินดียิ่งบีบคั้น จึงกล่าวอย่างนั้น.

เทวดากล่าวคาถาให้เกิดความสังเวช


ท่านได้ยินคาถานี้ ซึ่งเทวดาผู้สิงอยู่ในไพรสณฑ์นั้น กล่าวแล้ว
ว่า*:-
"ท่านผู้เดียว อยู่ในป่า เหมือนไม้ที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่า, ชนเป็นอันมาก ย่อมกระหยิ่งต่อท่านนั้น ราว
กะว่าพวกสัตว์นรก กระหยิ่มต่อชนทั้งหลาย ผู้ไปสู่
สวรรค์ฉะนั้น.

ด้วยความประสงค์ว่า "เราจักยังภิกษุนี้ให้สังเวช" ในวันรุ่งขึ้น
เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง.

พระศาสดาทรงแสดงทุกข์ 5 อย่าง


พระศาสดาทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ประสงค์จะประกาศความที่
ฆราวาสเป็นทุกข์ จึงทรงรวบรวมทุกข์ 5 อย่างแล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
1. สํ. ส. 15/ข้อ 785.

6. ทุปฺปพฺพชฺชํ ทุรภิรมํ ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
ทุกฺโข สมานสํวาโส ทุกฺขานุปติตทฺธคู
ตสฺมา น จทฺธคู สิยา น จ ทุกฺขานุปติโต สิยา.

"การบวชก็ยาก การยินดีก็ยาก เรือนที่ปกครอง
ไม่ดี ให้เกิดทุกข์ การอยู่ร่วมกับผู้เสมอกัน1 เป็น
ทุกข์ ผู้เดินทางไกล ก็ถูกทุกข์ติดตาม, เพราะฉะนั้น
ไม่พึงเป็นผู้เดินทางไกล และไม่พึงเป็นผู้อันทุกข์
ติดตาม."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุปฺกพฺพชฺชํ ความว่า ชื่อว่า การละ
กองแห่งโภคะน้อยก็ตาม มากก็ตาม และเครือญาติ บวชมอบอุระ (ถวาย
ชีวิต) ในศาสนานี้ เป็นการยาก.
บทว่า ทุรภิรมํ ความว่า การที่กุลบุตรแม้บวชแล้วอย่างนั้น สืบ
ต่อความเป็นไปแห่งชีวิต ด้วยการเที่ยวไปเพื่อภิกษา ยินดียิ่ง ด้วยสามารถ
แห่งการคุ้มครองคุณคือศีลอันไม่มีประมาณ และบำเพ็ญข้อปฏิบัติธรรม
อันสมควรแก่ธรรมให้บริบูรณ์ เป็นการยาก.
บทว่า ทุราวาสา ความว่า ก็ราชกิจของพระราชา อิสรกิจของ
อิสรชนทั้งหลาย อันผู้ครองเรือนต้องนำไป, ชนข้างเคียงและสมณ-
พราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม อันผู้ครองเรือนต้องสงเคราะห์, แม้เมื่อเป็น
อย่างนี้ การครองเรือนก็เต็มได้ยาก เหมือนหม้อที่ทะลุและมหาสมุทร;
เพราะฉะนั้น ชื่อว่าเรือนเหล่านั่น ที่ปกครองไม่ดีจึงชื่อว่าให้เกิดทุกข์
1. ตามนัยอรรถกถา ประสงค์จะให้หมายความว่า การอยู่ร่วมกับผู้ไม่เสมอกัน.