เมนู

6. เรื่องภิกษุวัชชีบุตร [219]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยกรุงไพศาลี ประทับอยู่ในป่ามหาวัน ทรง
ปรารภภิกษุผู้เป็นโอรสของเจ้าวัชชีรูปใดรูปหนึ่ง ที่พระธรรมสังคาห-
กาจารย์ กล่าวหมายเอาว่า1 "ภิกษุผู้เป็นโอรสของเจ้าวัชชีรูปใดรูปหนึ่ง
อยู่ในราวป่าแห่งใดแห่งหนึ่ง ใกล้เมืองไพศาลี. ก็โดยสมัยนั้นแล ใน
กรุงไพศาลีมีการเล่นมหรสพตลอดคืนยังรุ่ง. ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นได้ยิน
เสียงกึกก้องแห่งดนตรีที่เขาดีแล้วและประโคมแล้ว คร่ำครวญอยู่ กล่าว
คาถานี้ในเวลานั้นว่า:-
"พวกเราผู้เดียว ย่อมอยู่ในป่า เหมือนไม้ที่เขา
ทิ้งไว้แล้วในป่า, ในราตรีเช่นนี้ บัดนี้ ใครเล่า ?
ที่เลวกว่าพวกเรา."

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ทุปฺปพฺพชฺชํ ทุรภิรมํ" เป็นต้น.

เสียงกึกก้องเป็นปรปักษ์ต่อสมณเพศ


ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเป็นราชโอรสในแคว้นวัชชี สละราชสมบัติที่ถึง
แล้วตามวาระ บวชแล้ว ในกรุงไพศาลี, เมื่อทั่วทั้งพระนครอันเขาประดับ
แล้วด้วยเครื่องประดับทั้งหลาย มีธงชัยและธงแผ่นผ้าเป็นต้น กระทำให้
เนื่องเป็นอันเดียวกันกับชั้นจาตุมหาราช, เมื่อวาระเป็นที่เล่นมหรสพ
ตลอดคืนยังรุ่ง ในวันเพ็ญเป็นที่บานแห่งดอกโกมุทเป็นไปอยู่, ได้ยิน
เสียงกึกก้องแห่งดนตรี มีกลองเป็นต้นที่เขาตีแล้ว และเสียงดนตรีมีพิณ
เป็นต้น ที่เขาประโคมแล้ว, เมื่อพระราชาเจ็ดพันเจ็ดร้อยเจ็ดพระองค์,
1. สํ. ส. 15/ ข้อ 783 วัชชีปุตตสูตร.

และข้าราชบริพารทั้งหลาย มีอุปราชและเสนาบดีเป็นต้นของพระราชา
เหล่านั้น ก็มีจำนวนเท่านั้นเหมือนกัน ซึ่งมีอยู่ในกรุงไพศาลี ประดับ
ประดาแล้ว ก้าวลงสู่ถนนเพื่อต้องการจะเล่นนักษัตร, จงกรม (เดินกลับ
ไปกลับมา) อยู่ที่จงกรมใหญ่ ประมาณ 60 ศอก เห็นพระจันทร์เต็มดวง
เด่นอยู่ในกลางท้องฟ้า ยืนพิงแผ่นกระดาน ณ ที่สุดจงกรมแล้ว มองดู
อัตภาพประดุจไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า เพราะความที่ตนเว้นแล้วจากผ้าสำหรับ
โพกและเครื่องอลังการ คิดอยู่ว่า "คนอื่นที่เลวกว่าเรา มีอยู่หรือหนอ ?"
แม้ประกอบด้วยคุณมีการอยู่ป่าเป็นวัตรเป็นต้นตามปกติ ในขณะนั้น ถูก
ความไม่ยินดียิ่งบีบคั้น จึงกล่าวอย่างนั้น.

เทวดากล่าวคาถาให้เกิดความสังเวช


ท่านได้ยินคาถานี้ ซึ่งเทวดาผู้สิงอยู่ในไพรสณฑ์นั้น กล่าวแล้ว
ว่า*:-
"ท่านผู้เดียว อยู่ในป่า เหมือนไม้ที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่า, ชนเป็นอันมาก ย่อมกระหยิ่งต่อท่านนั้น ราว
กะว่าพวกสัตว์นรก กระหยิ่มต่อชนทั้งหลาย ผู้ไปสู่
สวรรค์ฉะนั้น.

ด้วยความประสงค์ว่า "เราจักยังภิกษุนี้ให้สังเวช" ในวันรุ่งขึ้น
เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง.

พระศาสดาทรงแสดงทุกข์ 5 อย่าง


พระศาสดาทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ประสงค์จะประกาศความที่
ฆราวาสเป็นทุกข์ จึงทรงรวบรวมทุกข์ 5 อย่างแล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
1. สํ. ส. 15/ข้อ 785.