เมนู

" สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระพุทธเจ้า
เป็นนิตย์ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น
เป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระธรรมเป็นนิตย์
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของ
พระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระสงฆ์เป็นนิตย์
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของ
พระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในกายเป็นนิตย์ ทั้ง
กลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระ-
โคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

ใจของชนเหล่าใด ยินดีแล้วในอันไม่เบียดเบียน
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของ
พระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

ใจของชนเหล่าใด ยินดีแล้วในภาวนา ทั้งกลาง
วันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ
ความว่า ชนเหล่านั้นยึดสติอันไปแล้วในพระพุทธเจ้า หลับอยู่นั่นเทียว
เมื่อตื่น ชื่อว่าตื่นอยู่ด้วยดี.

บาทพระคาถาว่า สทา โคตมสาวกา ความว่า ชื่อว่าเป็นสาวก
ของพระโคดม เพราะความที่ตนเป็นผู้เกิดแล้วในที่สุดแห่งการฟังแห่ง
พระพุทธเจ้าผู้โคตมโคตร (และ) เพราะความเป็นคืออันฟังอนุสาสนีของ
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นนั่นแล.
สองบทว่า พุทฺธคตา สติ ความว่า สติของชนเหล่าใดปรารภ
พระพุทธคุณทั้งหลายอันต่างด้วยคุณมีว่า " อิติปิ โส ภควา " เป็นต้น
เกิดขึ้นอยู่ มีอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าตื่นอยู่ด้วยดีแม้
ในกาลทุกเมื่อ. ก็ชนเหล่านั้น เมื่อไม่อาจ (เพื่อจะกระทำ) อย่างนั้นได้
ทำซึ่งพุทธานุสสติไว้ในใจ ในวันหนึ่ง 3 เวลา 2 เวลา (หรือ) แม้เวลา
เดียว ชื่อว่าตื่นอยู่ด้วยดีเหมือนกัน.
สองบทว่า ธมฺมคตา สต ความว่า สติที่ปรารภพระธรรมคุณ
ทั้งหลาย อันต่างด้วยคุณมีว่า " สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม" เป็นต้น
อันเกิดขึ้นอยู่.
สองบทว่า สงฺฆคตา สติ ความว่า สติที่ปรารภพระสังฆคุณทั้งหลาย
อันต่างด้วยคุณมีว่า " สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ" เป็นต้น
อันเกิดขึ้นอยู่.
สองบทว่า กายคตา สติความว่า สติอันเกิดขึ้นอยู่ ด้วยสามารถ
แห่งอาการ 32 ด้วยสามารถแห่งการอยู่ในป่าช้า 9 ด้วยสามารถแห่ง
รูปฌานมีนีลกสิณอันเป็นไปในภายในเป็นต้น.
สองบทว่า อหึสาย รโต ความว่า ยินดีแล้วในกรุณาภาวนา
(การเจริญกรุณา) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า " ภิกษุนั้นมี
ใจสหรคตด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่."


บทว่า ภาวนาย ได้แก่ เมตตาภาวนา, จริงอยู่ ภาวนาที่เหลือ
แม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในบทว่า " ภาวนาย "
นี้ เพราะความที่กรุณาภาวนาพระองค์ตรัสไว้แล้วในหนหลังแม้โดยแท้,
ถึงดังนั้น เมตตาภาวนาเท่านั้น พระองค์ทรงประสงค์เอาในบทว่า
" ภาวนาย " นี้, คำที่เหลือ ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วใน
คาถาต้นนั้นเทียว.
ในกาลจบเทศนา ทารกนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วย
มารดาและบิดาแล้ว. ครั้นภายหลัง ชนแม้ทั้งหมดบวชแล้วบรรลุพระ-
อรหัต. เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องนายทารุสากฏิกะ จบ.

6. เรื่องภิกษุวัชชีบุตร [219]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยกรุงไพศาลี ประทับอยู่ในป่ามหาวัน ทรง
ปรารภภิกษุผู้เป็นโอรสของเจ้าวัชชีรูปใดรูปหนึ่ง ที่พระธรรมสังคาห-
กาจารย์ กล่าวหมายเอาว่า1 "ภิกษุผู้เป็นโอรสของเจ้าวัชชีรูปใดรูปหนึ่ง
อยู่ในราวป่าแห่งใดแห่งหนึ่ง ใกล้เมืองไพศาลี. ก็โดยสมัยนั้นแล ใน
กรุงไพศาลีมีการเล่นมหรสพตลอดคืนยังรุ่ง. ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นได้ยิน
เสียงกึกก้องแห่งดนตรีที่เขาดีแล้วและประโคมแล้ว คร่ำครวญอยู่ กล่าว
คาถานี้ในเวลานั้นว่า:-
"พวกเราผู้เดียว ย่อมอยู่ในป่า เหมือนไม้ที่เขา
ทิ้งไว้แล้วในป่า, ในราตรีเช่นนี้ บัดนี้ ใครเล่า ?
ที่เลวกว่าพวกเรา."

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ทุปฺปพฺพชฺชํ ทุรภิรมํ" เป็นต้น.

เสียงกึกก้องเป็นปรปักษ์ต่อสมณเพศ


ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเป็นราชโอรสในแคว้นวัชชี สละราชสมบัติที่ถึง
แล้วตามวาระ บวชแล้ว ในกรุงไพศาลี, เมื่อทั่วทั้งพระนครอันเขาประดับ
แล้วด้วยเครื่องประดับทั้งหลาย มีธงชัยและธงแผ่นผ้าเป็นต้น กระทำให้
เนื่องเป็นอันเดียวกันกับชั้นจาตุมหาราช, เมื่อวาระเป็นที่เล่นมหรสพ
ตลอดคืนยังรุ่ง ในวันเพ็ญเป็นที่บานแห่งดอกโกมุทเป็นไปอยู่, ได้ยิน
เสียงกึกก้องแห่งดนตรี มีกลองเป็นต้นที่เขาตีแล้ว และเสียงดนตรีมีพิณ
เป็นต้น ที่เขาประโคมแล้ว, เมื่อพระราชาเจ็ดพันเจ็ดร้อยเจ็ดพระองค์,
1. สํ. ส. 15/ ข้อ 783 วัชชีปุตตสูตร.