เมนู

ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเข้าไปสู่พระนคร ยังถาดโภชนะของพระราชาให้เต็มแล้ว
นำโภชนะมา.
ต่อมา อมนุษย์แม้ทั้งสองเป็นประดุจว่ามารดาและบิดาของเด็กนั้น
ปลุกเด็กนั้นให้ลุกขึ้นแล้ว ให้บริโภคโภชนะนั้น ประกาศความเป็นไป
นั้นแล้ว จารึกอักษรที่ถาดโภชนะ ด้วยอานุภาพของยักษ์ ด้วยอธิษฐานว่า
" พระราชาเท่านั้น จงเห็นอักษรเหล่านี้, คนอื่นจงอย่าเห็น" ดังนี้แล้ว
จึงไป.
ในวันรุ่งขึ้น พวกราชบุรุษทำความโกลาหลอยู่ว่า " พวกโจร
ลักเอาภัณฑะคือภาชนะไปจากราชตระกูลแล้ว" จึงปิดประตูทั้งหลายแล้ว
ค้นดู เมื่อไม่เห็นในพระนคร จึงออกจากพระนคร ตรวจดูข้างโน้นและ
ข้างนี้ จึงเห็นถาดอันเป็นวิการแห่งทองคำบนเกวียนที่บรรทุกฟืน จึงจับ
เด็กนั้น ด้วยความสำคัญว่า " เด็กนี้เป็นโจร" ดังนี้แล้ว แสดง
แด่พระราชา.

เด็กถูกไต่สวน


พระราชาทอดพระเนตรเห็นอักษรทั้งหลายแล้ว ตรัสถามว่า " นี่
อะไรกัน ? พ่อ." เด็กนั้นกราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ข้าพระองค์ไม่ทราบ, มารดาบิดาของข้าพระองค์มาให้บริโภคในราตรี
แล้วได้ยืนรักษาอยู่. ข้าพระองค์คิดว่า ' มารดาบิดารักษาเราอยู่" จึงไม่มี
ความกลัวเลย เข้าถึงความหลับแล้ว, ข้าพระองค์ทราบเพียงเท่านี้."
ลำดับนั้น แม้มารดาและบิดาของเด็กนั้น ก็ได้ไปสู่ที่นั้นแล้ว.
พระราชาทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้ว ทรงพาชนทั้งสามนั้นไปสู่
สำนักพระศาสดา กราบทูลความเป็นไปทั้งปวงแล้ว ทูลถามว่า " ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พุทธานุสสติเท่านั้น ย่อมเป็นคุณชาติเครื่องรักษาหรือ
หนอแล ? หรือว่าอนุสสติอื่น แม้มีธัมมานุสสติเป็นต้น ก็เป็นคุณชาติ
เครื่องรักษา."

พระศาสดาทรงแสดงฐานะ 6


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พระราชานั้นว่า " มหาบพิตร พุทธา-
นุสสติอย่างเดียวเท่านั้น เป็นคุณชาติเครื่องรักษาก็หามิได้, ก็จิตอันชน
เหล่าใดอบรมดีแล้วโดยฐานะ 6. กิจด้วยอันรักษาและป้องกันอย่างอื่น
หรือด้วยมนต์และโอสถ ย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรง
แสดงฐานะ 6 ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
5. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ ทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ พุทฺธคตา สติ.
ปฺปพุทฺธํ พุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
สํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ ธมฺมคตา สติ.
ปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
สํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ สงฺฆคตา สติ.
ปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
สํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ กายคตา สติ.
ปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
สํ ทิวา จ รตฺโต จ อหึสาย รโต มโน.
ปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
สํ ทิวา จ รตฺโต จ ภาวนาย รโต นโน.