เมนู

(พระคาถาที่ 2)


แม้ในพระคาถาที่ 2 เรื่องก็เหมือนกับเรื่องก่อนนั่นเอง.
แม้ในกาลนั้น พระศาสดาทรงปรารภพระลกุณฏกภัททิยเถระเหมือน
กัน เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
มาตรํ ปิตรํ หนฺตฺวา ราชาโน เทฺว จ โสตฺถิเย
เวยฺยคฺฆปญฺจมํ หนฺตฺวา อนีโฆ ยาติ พฺราหฺมโณ.

" บุคคลฆ่ามารดาบิดา ฆ่าพระราชาผู้เป็นพราหมณ์
ทั้งสองได้แล้ว และฆ่าหมวด 5 แห่งนิวรณ์มีวิจิกิจฉา-
นิวรณ์ เช่นกับหนทางที่เสือโคร่งเที่ยวไปเป็นที่ 5
แล้ว เป็นพราหมณ์ ไม่มีทุกข์ ไปอยู่. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เทฺว จ โสตฺถิเย คือ ผู้เป็นพราหมณ์
ทั้งสองด้วย.
ก็ในพระคาถานี้ พระศาสดาตรัสสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิให้เป็น
พระราชาผู้เป็นพราหมณ์ทั้งสอง เพราะพระองค์เป็นใหญ่ในพระธรรม
และเพราะพระองค์เป็นผู้ฉลาดในวิธีเทศนา.
บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ ในบท เวยฺยคฺฆปญฺจมํ นี้ ว่าหนทาง
ที่เสือโคร่งเที่ยวไป มีภัยรอบด้าน เดินไปลำบาก ชื่อว่าทางที่เสือโคร่ง
เที่ยวไปแล้ว. แม้วิจิกิจฉานิวรณ์ ชื่อว่าเป็นดุจทางที่เสือโคร่งเที่ยวไปแล้ว
เพราะความที่วิจิกิจฉานิวรณ์นั้น คล้ายกับทนทางอันเสือโคร่งเที่ยวไป
แล้วนั้น, วิจิกิจฉานิวรณ์เช่นกับทนทางที่เสือโคร่งเที่ยวไปแล้วนั้น เป็น
ที่ 5 แห่งหมวด 5 แห่งนิวรณ์นั้น เพราะฉะนั้น หมวด 5 แห่งนิวรณ์
จึงชื่อว่ามีวิจิกิจฉานีวรณ์ เช่นกับทนทางที่เสือโคร่งเที่ยวไปแล้วเป็นที่ 5.

ในพระคาถาที่ 2 นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า " ก็บุคคลฆ่าหมวด 5 แห่ง
นีวรณ์มีวิจิกิจฉานีวรณ์เช่นกับทนทางที่เสือโคร่งเที่ยวไปแล้วเป็นที่ 5 นี้
ไม่ให้มีส่วนเหลือ ด้วยดาบคืออรหัตมรรคญาณ เป็นพราหมณ์ ไม่มีทุกข์
เที่ยวไปอยู่."
บทที่เหลือ เป็นเช่นกับบทที่มีในก่อนนั่นแล ดังนี้แล.
เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ จบ.

5. เรื่องนายทารุสากฏิกะ [218]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุตรของ
นายทารุสากฏิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สุปฺปพุทฺธํ " เป็นต้น.

เด็กสองคนเล่นขลุบ


ความพิสดารว่า เด็กในพระนครราชคฤห์สองคน คือ " บุตรของ
บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิคนหนึ่ง บุตรของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิคนหนึ่ง"
เล่นขลุบอยู่ด้วยกันเนือง ๆ. ในเด็กสองคนนั้น บุตรของบุคคลผู้เป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อจะทอดขลุบ. ระลึกถึงพุทธานุสสติแล้วกล่าวว่า " นโม
พุทฺธสฺส "
แล้วจึงทอดขลุบ. เด็กนอกนี้ระลึกเฉพาะพระคุณทั้งหลาย
ของพวกเดียรถีย์แล้ว กล่าวว่า "นโม อรหนฺตานิ " แล้วจึงทอด.
ในเด็กสองคนนั้น บุตรของบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ ย่อมชนะ, เด็กคน
นอกนี้ ย่อมแพ้. บุตรของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐินั้น เห็นกิริยาของบุตร
ผู้เป็นสัมมาทิฏฐินั้นแล้ว คิดว่า " เพื่อนคนนี้ ระลึกแล้วอย่างนั้น กล่าว
แล้วอย่างนั้น ทอดขลุบไปจึงชนะเรา, แม้เราก็จักทำอย่างนั้น (บ้าง)"
ได้ทำการสั่งสมในพุทธานุสสติแล้ว.

เด็กผู้เป็นสัมมาทิฏฐิไปป่ากับบิดา


ภายหลังวันหนึ่ง บิดาของเด็กผู้เป็นสัมมาทิฏฐินั้น เทียมเกวียน
แล้วไปเพื่อต้องการไม้ ได้พาเด็กแม้นั้นไปแล้ว บรรทุกเกวียนให้เต็ม
แล้วด้วยไม้ในดง ขับมาอยู่ (ถึง) ภายนอกเมือง ปล่อยโคไปในที่อันมี
ความสำราญด้วยน้ำ ในที่ใกล้ป่าช้า แล้วได้กระทำการจัดแจงภัต.