เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สานุจรํ ได้แก่ ผู้เป็นไปกับด้วยผู้จัดการ
ส่วยให้สำเร็จ คือเจ้าพนักงานเก็บส่วย.
ก็ในพระคาถานี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยว่า ตัณหา ชื่อว่ามารดา
เพราะให้สัตว์ทั้งหลายเกิดในภพ 3 เพราะบาลีว่า " ตัณหายังบุรุษให้เกิด."
อัสมิมานะ1 ชื่อว่าบิดา เพราะอัสมิมานะอาศัยบิดาเกิดขึ้นว่า " เรา
เป็นราชโอรสของพระราชาชื่อโน้น หรือเป็นบุตรของมหาอำมาตย์ของ
พระราชาชื่อโน้น" เป็นต้น.
ทิฏฐิทุกชนิด ย่อมอิงสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิทั้งสอง เหมือน
ชาวโลกอาศัยพระราชาฉะนั้น, เพราะฉะนั้น สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ
จึงชื่อว่าพระราชาผู้กษัตริย์สองพระองค์.
อายตนะ 122 ชื่อว่าแว่นแคว้น เพราะคล้ายคลึงกับแว่นแคว้น
โดยอรรถว่ากว้างขวาง. ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี ซึ่งอาศัย
อายตนะนั้น ดุจบุรุษเก็บส่วย จัดการส่วยให้สำเร็จ ชื่อว่าเจ้าพนักงาน
เก็บส่วย.
บทว่า อนีโฆ ได้แก่ ไม่มีทุกข์. บทว่า พฺราหมฺโณ ได้แก่
ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว.
ในพระคาถานี้ มีอธิบายดังนี้ " ผู้ชื่อว่ามีอาสวะสิ้นแล้ว เพราะ
กิเลสเหล่านั้นมีตัณหาเป็นต้น อันตนกำจัดได้ ด้วยดาบคืออรหัตมรรค-
ญาณ จึงเป็นผู้ไม่มีทุกข์ ไปอยู่."
ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว.
1. การถือว่าเป็นเรา. 2. อายตนะภายใน 6 มีจักษุเป็นต้น. ภายนอก 6 มีรูปเป็นต้น.