เมนู

เยสญฺจ สุสมารทฺธา นิจฺจํ กายคตา สติ
อกิจฺจนฺเต น เสวนฺติ กิจฺเจ สาตจฺจการิโน
สตานํ สมฺปชานานํ อตฺถํ คจฺฉนฺติ อาสวา.

" ก็ ภิกษุละทิ้งสิ่งที่ควรทำ, แต่ทำสิ่งที่ไม่ควร
ทำ; อาสวะ1ทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้มี
มานะประดุจไม้อ้ออันยกขึ้นแล้ว ประมาทแล้ว; ส่วน
สติอันไปในกาย อันภิกษุเหล่าใด ปรารภด้วยดีเป็น
นิตย์, ภิกษุเหล่านั้นมีปกติทำเนือง ๆ ในกิจที่ควรทำ
ย่อมไม่เสพสิ่งที่ไม่ควรทำ; อาสวะทั้งหลายของภิกษุ
เหล่านั้น ผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ ย่อมถึงความตั้งอยู่
ไม่ได้."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ยํ หิ กิจฺจํ ความว่า ก็กรรม
มีอาทิอย่างนี้คือ การคุ้มครองศีลขันธ์อันหาประมาณมิได้ การอยู่ป่าเป็น
วัตร การรักษาธุดงค์ ความเป็นผู้ยินดีในภาวนา ชื่อว่าเป็นกิจอันควรทำ
ของภิกษุ จำเดิมแต่กาลบวชแล้ว. แต่ภิกษุเหล่านี้ละเลย คือทอดทิ้งกิจ
ที่ควรทำของตนเสีย.
บทว่า อกิจฺจํ เป็นต้น ความว่า ก็การประดับร่ม การประดับ
รองเท้า การประดับเขียงเท้า บาตร โอ ธมกรก ประคดเอว อังสะ ชื่อว่า
เป็นกิจไม่ควรทำของภิกษุ. อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดทำสิ่งนั้น, อาสวะ
1. อาสวะมี 4 คือ กามาสวะ อาสวะคือกาม 1 ภวาสวะ อาสวะคือภพ 1 ทิฏฐาสวะ อาสวะ
คือความเห็นผิด 1 อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา 1.

ทั้ง 4 ย่อมเจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้ชื่อว่า มีมานะประดุจไม้อ้ออันยกขึ้น
แล้ว เพราะการยกมานะเพียงดังไม้อ้อเที่ยวไป ชื่อว่าประมาทแล้ว เพราะ
ปล่อยสติ.
บทว่า สุสมารทฺธา ได้แก่ ประคองไว้ดีแล้ว.
สองบทว่า กายคตา สติ ได้แก่ ภาวนาอันเป็นเครื่องตามเห็นกาย.
บทว่า อกิจฺ จํ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่เสพ คือไม่ทำสิ่งที่
ไม่ควรทำนั่น มีการประดับร่มเป็นต้น.
บทว่า กิจฺเจ ความว่า ในสิ่งอันตนพึงทำ คือในกรณียะ มีการ
คุ้มครองศีลขันธ์อันหาประมาณมิได้เป็นต้น จำเดิมแต่กาลบวชแล้ว.
บทว่า สาตจฺจการิโน ได้แก่ มีปกติทำเนือง ๆ คือทำไม่หยุด,
อธิบายว่า อาสวะแม้ทั้ง 4 ของภิกษุเหล่านั้น ผู้ชื่อว่ามีสติ เพราะไม่อยู่
ปราศจากสติ ผู้ชื่อว่ามีสัมปชัญญะ เพราะสัมปชัญญะ 4 อย่าง คือ
' สาตถกสัมปชัญญะ สัปปายสัมปชัญญะ โคจรสัมปชัญญะ อสัมโมห-
สัมปชัญญะ ' ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ คือถึงความสิ้นไป ได้แก่ ไม่มี.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว. เทศนาได้มี
ประโยชน์แม้แก่บุคคลที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุชาวนครภัททิยะ จบ.

4. เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ [217]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระลกุณฏก-
ภัททิยเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มาตรํ ปิตรํ หนฺตฺวา "
เป็นต้น.

อาคันตุกภิกษุเข้าเฝ้าพระศาสดา


ความพิสดารว่า วันหนึ่งภิกษุอาคันตุกะหลายรูปด้วยกัน เข้าไป
เฝ้าพระศาสดา ผู้ประทับนั่ง ณ ที่ประทับกลางวัน ถวายบังคมแล้วนั่ง
ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. ขณะนั้นพระลกุณฏกภัททิยเถระเดินผ่านไปในที่ไม่ไกล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระศาสดา ทรงทราบวารจิต (คือความคิด) ของภิกษุเหล่านั้นแล้ว
ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นหรือ ? ภิกษุนี้ฆ่ามารดาบิดาแล้ว
เป็นผู้ไม่มีทุกข์ ไปอยู่ " เมื่อภิกษุเหล่านั้นมองดูหน้ากันและกันแล้ว แล่น
ไปสู่ความสงสัยว่า " พระศาสดา ตรัสอะไรหนอแล ?" จึงกราบทูลว่า
" พระองค์ตรัสคำนั่นชื่ออะไร ?" เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
4. มาตรํ ปิตรํ หนฺตฺวา ราชาโน เทฺว จ ขตฺติเย
รฏฺฐํ สานุจรํ หนฺตฺวา อนีโฆ ยาติ พฺราหฺมโณ.

" บุคคลฆ่ามารดาบิดา ฆ่าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์
ทั้งสอง และฆ่าแว่นแคว้นพร้อมด้วยเจ้าพนักงาน
เก็บส่วยแล้ว เป็นพราหมณ์ ไม่มีทุกข์ ไปอยู่."