เมนู

ทำความปรารถนาว่า " เจ้าเคี้ยวกินฟองไข่ทั้งหลายของเราตลอด 3 คราว
บัดนี้ ยังปรารถนาจะเคี้ยวกินเรา, เราเคลื่อนจากอัตภาพนี้แล้ว พึงได้
เพื่อเคี้ยวกินเจ้าพร้อมทั้งลูก " เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดเป็น
นางเสือเหลือง.
ฝ่ายนางแมวนอกนี้ ทำกาละแล้วบังเกิดเป็นนางเนื้อ. ในเวลานาง
เนื้อนั้นคลอดแล้ว นางเสือเหลืองก็มาเคี้ยวกินนางเนื้อนั้นพร้อมด้วยลูก
ทั้งหลาย. สองสัตว์นั้นเคี้ยวกินอยู่อย่างนี้ ยังทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่กันและกัน
ใน 500 อัตภาพ ในที่สุดนางหนึ่งเกิดเป็นยักษิณี, นางหนึ่งเกิดเป็น
กุลธิดาในเมืองสาวัตถี.
เบื้องหน้าแต่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในพระคาถาว่า
" น หิ เวเรน เวรานิ " เป็นอาทิ นั่นแล.
แต่ในเรื่องนี้ พระศาสดาตรัสว่า " ก็เวรย่อมระงับด้วยความไม่มี
เวร, ย่อมไม่ระงับด้วยเวร," ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ชน
แม้ทั้งสองงจึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
2. ปรทุกขูปธาเนน โย อตฺตโน สุขมิจฺฉติ
เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ เวรา โส น ปริมุจฺจติ.

" ผู้ใด ย่อมปรารถนาสุขเพื่อตน เพราะก่อทุกข์
ในผู้อื่น, ผู้นั้น เป็นผู้ระคนด้วยเครื่องระคนคือเวร
ย่อมไม่พ้นจากเวรได้."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรทุกฺขุปธาเนน ความว่า เพราะก่อ
ทุกข์ในผู้อื่น, อธิบายว่า เพราะยังทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น.

บาทพระคาถาว่า เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ ความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้
ระคนแล้วด้วยเครื่องระคนคือเวร อันตนทำให้แก่กันและกัน ด้วยสามารถ
แห่งการด่าและการด่าตอบ การประหารและการประหารตอบ เป็นต้น.
บาทพระคาถาว่า เวรา โส น ปริมุจฺจติ ความว่า ย่อมถึงทุกข์
อย่างเดียว ตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยสามารถแห่งเวร.
ในกาลจบเทศนา นางยักษิณีตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย สมาทานศีล 5
พ้นแล้วจากเวร, ฝ่ายกุลธิดานอกนี้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, เทศนา
ได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องกุมาริกากินไข่ไก่ จบ.

3. เรื่องภิกษุชาวนครภัททิยะ [216]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อเสด็จอาศัยนครภัททิยะ ประทับอยู่ในชาติยาวัน
ทรงปรารภภิกษุชาวนครภัททิยะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยํ หิ กิจฺจํ "
เป็นต้น.

ภิกษุละเลยสมณกิจ


ดังได้สดับมา ภิกษุชาวนครภัททิยะเหล่านั้น ได้เป็นผู้ขวนขวาย
ในการประดับเขียงเท้า.
สมจริงตามที่พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ว่า " ก็โดยสมัยนั้นแล พวก
ภิกษุนครภัททิยะ ตามประกอบความเพียรในการประดับเขียงเท้าชนิด
ต่าง ๆ กันอยู่ : ทำเองบ้าง ให้คนอื่นทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าหญ้าธรรมดา
ทำเองบ้าง ให้คนอื่นทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าหญ้าปล้อง เขียงเท้าหญ้ามุงกระต่าย
เขียงเท้าต้นแป้ง เขียงเท้าผ้ากัมพล, ย่อมละทิ้งอุทเทส (ศึกษาเล่าเรียน
ธรรมวินัย) ปริปุจฉา (การไต่ถาม) อธิศีล (อินทรียสังวร) อธิจิต
(สมถภาวนา) อธิปัญญา (วิปัสสนาภาวนา). ภิกษุทั้งหลาย ตำหนิโทษ
ความที่ทำเช่นนั้นของภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลแด่พระศาสดา.

พระศาสดาทรงตำหนิโทษแล้วเทศนา


พระศาสดา ทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายมาด้วยกิจอย่างอื่นแล้ว ขวนขวายในกิจอย่างอื่นแล " ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
3. ยญฺหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ อกิจฺจํ ปน กยิรติ1
อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา.