เมนู

คาถาธรรมบท



ปกิณณกวรรคที่ 21

1

ว่าด้วยหมวดเบ็ดเตล็ด



[31] 1.ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ พึงสละสุขพอ
ประมาณเสีย ผู้มีปัญญา เมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็
พึงสละสุขพอประมาณเสีย.
2.ผู้ใดย่อมปรารถนาสุขเพื่อตน เพราะก่อ
ทุกข์ในผู้อื่น ผู้นั้นเป็นผู้ระคนด้วยเครื่องระคนคือเวร
ย่อมไม่พ้นจากเวรได้.
3.ก็ภิกษุละทิ้งสิ่งที่ควรทำ แต่ทำสิ่งที่ไม่ควร
ทำ อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้มี
มานะประดุจไม้อ้ออันยกขึ้นแล้ว ประมาทแล้ว ส่วน
สติอันเป็นไปในกาย อันภิกษุเหล่าใดปรารภด้วยดี
เป็นนิตย์ ภิกษุเหล่านั้นมีปกติทำเนือง ๆ ในกิจที่ควร
ทำ ย่อมไม่เสพสิ่งที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายของ
ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ ย่อมถึงความ
ตั้งอยู่ไม่ได้.
4.บุคคลฆ่ามารดาบิดา ฆ่าพระราชาผู้เป็น
กษัตริย์ทั้งสอง และฆ่าแว่นแคว้นพร้อมด้วยเจ้า-

1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 9 เรื่อง.

พนักงานเก็บส่วยแล้ว เป็นพราหมณ์ไม่มีทุกข์ ไป
อยู่.

บุคคลฆ่ามารดาบิดา ฆ่าพระราชาผู้เป็นพราหมณ์
ทั้งสองได้แล้ว และฆ่าหมวด 5 แห่งนิวรณ์มีวิจิ-
กิจฉานิวรณ์ เช่นกับหนทางที่เสือโคร่งเที่ยวไปเป็น
ที่ 5 แล้ว เป็นพราหมณ์ไม่มีทุกข์ ไปอยู่.

5. สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระพุทธเจ้า
เป็นนิตย์ ทั้งกลางวันกลางคืน (ชนเหล่านั้น) เป็น
สาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดี ในกาลทุกเมื่อ
สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระธรรมเป็นนิตย์
ทั้งกลางวันกลางคืน (ชนเหล่านั้น) เป็นสาวกของ
พระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ สติของชน
เหล่าใดไปแล้วในพระสงฆ์เป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและ
กลางคืน (ชนเหล่านั้น) เป็นสาวกของพระโคดม
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ สติของชนเหล่าใดไป
แล้วในกายเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน (ชน
เหล่านั้น) เป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีใน
กาลทุกเมื่อ ใจของชนเหล่าใดยินดีแล้วในอันไม่
เบียดเบียนทั้งกลางวันทั้งกลางคืน (ชนเหล่านั้น)
เป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุก
เมื่อ ใจของชนเหล่าใดยินดีแล้วในภาวนา ทั้งกลาง-

วันและกลางคืน (ชนเหล่านั้น) เป็นสาวกของพระ-
โคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.
6. การบวชก็ยาก การยินดีก็ยาก เรือนที่
ปกครองไม่ดีให้เกิดทุกข์ การอยู่ร่วมกับผู้เสมอกัน
เป็นทุกข์ ผู้เดินทางไกลก็ถูกทุกข์ติดตาม เพราะ-
ฉะนั้น ไม่พึงเป็นผู้เดินทางไกล และไม่พึงเป็นผู้อัน
ทุกข์ติดตาม.
7. ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อม
ด้วยยศและโภคะ จะไปประเทศใด ๆ ย่อมเป็นผู้อัน
เขาบูชาแล้ว ในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว.
8. สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมปรากฏในที่ไกล
เหมือนภูเขาหิมพานต์ (ส่วน) อสัตบุรุษย่อมไม่
ปรากฏในที่นี้ เหมือนลูกศรอันเขาซัด (ยิง) ไปใน
ราตรีฉะนั้น.
9. ภิกษุพึงเสพที่นั่งคนเดียว ที่นอนคนเดียว
พึงเป็นผู้เดียว ไม่เกียจคร้านเที่ยวไป เป็นผู้เดียว
ทรมานตน เป็นผู้ยินดียิ่งในราวป่า.

จบปกิณณกวรรคที่ 21

21. ปกิณณกวรรควรรณนา



1. เรื่องบุรพกรรมของพระองค์ [214]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรพกรรม
ของพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มตฺตาสุขปริจฺจาคา" เป็นต้น.

เกิดภัย 3 อย่างในเมืองไพศาลี


ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง เมืองไพศาลีได้เป็นเมืองมั่งคั่งกว้าง-
ขวาง มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น. ก็ในเมืองไพศาลีนั้นได้มีกษัตริย์
ครอบครองราชสมบัติตามวาระกันถึงเจ็ดพันเจ็ดร้อยพระองค์. ปราสาท
เพื่อประโยชน์เป็นที่ประทับของกษัตริย์เหล่านั้น ก็มีประมาณเท่านั้น
เหมือนกัน, เรือนยอดก็มีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน; สถานที่รื่นรมย์และ
สระโบกขรณี เพื่อประโยชน์เป็นที่ประทับอยู่ในพระราชอุทยาน ก็ได้มี
ประมาณเท่านั้นเหมือนกัน.
โดยสมัยอื่นอีก เมืองไพศาลีนั้นได้เป็นเมืองมีภิกษาหาได้ยาก ข้าว
กล้าเสียหาย. ทีแรกพวกมนุษย์ที่ขัดสนในเมืองไพศาลีนั้น ได้ตายแล้ว
(มากกว่ามาก) เพราะโทษคือความหิว. พวกอมนุษย์ก็เข้าไปสู่พระนคร
เพราะกลิ่นซากศพของมนุษย์เหล่านั้น อันเขาทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ, มนุษย์
ทั้งหลายได้ตายมากกว่ามาก เพราะอุปัทวะที่เกิดจากอมนุษย์. อหิวาตกโรค
เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะความปฏิกูลด้วยกลิ่นศพแห่งมนุษย์เหล่านั้น.