เมนู

เอตมตฺถวสํ ญตฺวา ปณฺฑิโต สีลสํวุโต
นิพฺพานคมนํ มคฺคํ ขิปฺปเม วิโสธเย.

"บัณฑิตทราบอำนาจเนื้อความว่า ' บุตรทั้งหลาย
ย่อมไม่มีเพื่อต้านทาน, บิดาและพวกพ้องทั้งหลาย
ก็ไม่มีเพื่อต้านทาน, เมื่อบุคคลถูกความตายครอบงำ
แล้ว, ความต้านทานในญาติทั้งหลายย่อมไม่มี,'
ดังนี้แล้ว เป็นผู้สำรวมในศีล พึงชำระทางเป็นที่ไป
พระนิพพานให้หมดจดพลันทีเดียว."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาณาย ความว่า เพื่อความเป็นผู้ต้าน
ทาน คือเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นที่พึ่ง.
ญาติและเพื่อนผู้ใจดีที่เหลือเว้นบุตรและมารดาบิดาเสีย ชื่อว่าพวก
พ้อง.
บทว่า อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส คือ ผู้ถูกความตายครอบงำ. จริงอยู่
ในปัจจุบันกาล ปิยชนทั้งหลาย มีบุตรเป็นต้น แม้เป็นผู้ต้านทานได้ ด้วย
การให้ข้าวและน้ำเป็นต้น และด้วยการช่วยกิจที่เกิดขึ้นแล้ว (แต่) ใน
เวลาตาย ชื่อย่อมไม่มีประโยชน์แก่การต้านทาน คือเพื่อประโยชน์แก่
การป้องกัน เพราะความเป็นผู้ไม่สามารถเพื่อกางกั้นความตาย โดยอุบาย
อะไร ๆ ได้; เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "นตฺถิ
ญาตีสุ ตาณตา."

บทว่า เอตมตฺถวสํ ความว่า บัณฑิตทราบเหตุนั้น กล่าวคือความ
ที่ชนเหล่านั้น เป็นผู้ไม่สามารถ เพื่อจะเป็นผู้ต้านทานแก่กันและกันแล้ว
เป็นผู้สำรวม คือรักษา ได้แก่คุ้มครองด้วยปาริสุทธิศีล 4 พึงชำระทาง
มีองค์ 8 เป็นที่ไปพระนิพพานให้หมดจดโดยรีบด่วน.
ในเวลาจบเทศนา นางปฏาจาราตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, ชน
แม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว
ดังนี้แล.
เรื่องนางปฏาจารา จบ.
มรรควรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 20 จบ.

คาถาธรรมบท



ปกิณณกวรรคที่ 21

1

ว่าด้วยหมวดเบ็ดเตล็ด



[31] 1.ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ พึงสละสุขพอ
ประมาณเสีย ผู้มีปัญญา เมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็
พึงสละสุขพอประมาณเสีย.
2.ผู้ใดย่อมปรารถนาสุขเพื่อตน เพราะก่อ
ทุกข์ในผู้อื่น ผู้นั้นเป็นผู้ระคนด้วยเครื่องระคนคือเวร
ย่อมไม่พ้นจากเวรได้.
3.ก็ภิกษุละทิ้งสิ่งที่ควรทำ แต่ทำสิ่งที่ไม่ควร
ทำ อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้มี
มานะประดุจไม้อ้ออันยกขึ้นแล้ว ประมาทแล้ว ส่วน
สติอันเป็นไปในกาย อันภิกษุเหล่าใดปรารภด้วยดี
เป็นนิตย์ ภิกษุเหล่านั้นมีปกติทำเนือง ๆ ในกิจที่ควร
ทำ ย่อมไม่เสพสิ่งที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายของ
ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ ย่อมถึงความ
ตั้งอยู่ไม่ได้.
4.บุคคลฆ่ามารดาบิดา ฆ่าพระราชาผู้เป็น
กษัตริย์ทั้งสอง และฆ่าแว่นแคว้นพร้อมด้วยเจ้า-

1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 9 เรื่อง.