เมนู

9. ตํ ปุตฺตปสุสมฺมตฺตํ พฺยาสตฺตมนสํ นรํ
สุตฺตํ คามํ มโหโฆว มจฺจุ อาทาย คจฺฉติ.

" มัจจุ พานระนั้น ผู้มัวเมาในบุตรและปศุสัตว์
ผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ไป เหมือนห้างน้ำใหญ่
พัดเอาชาวบ้านผู้หลับไปฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ตํ ปุตฺตปสุสมฺมตฺตํ ความว่า ซึ่ง
นระนั้นผู้ได้บุตรและปศุสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งถึงพร้อมด้วยรูปและกำลังเป็นต้น
แล้ว มัวเมาคือประมาทแล้ว ด้วยบุตรและปศุสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า " บุตร
ของเรามีรูปสวย มีกำลังสมบูรณ์ ฉลาด สามารถในกิจทุกอย่าง, โคของ
เรามีรูปงาม ปราศจากโรค สามารถนำของไปได้มาก, แม่โคของเรา
มีน้ำนมมาก."
บทว่า พฺยาสตฺตมนสํ ความว่า ชื่อว่าผู้มีใจข้องแล้ว (ในอารมณ์)
เพราะได้บรรดาเงินและทองเป็นต้น หรือสมณบริขารทั้งหลาย มีบาตร
และจีวรเป็นต้น บางอย่างเท่านั้นแล้ว ปรารถนาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปกว่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าผู้มีใจข้องอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ เพราะต้องอยู่ในบรรดา
อารมณ์ทั้งหลาย ที่จะพึงรู้ด้วยจักษุเป็นต้น หรือบรรดาสมณบริขาร
ทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้ว ในอารมณ์และบริขารอันตนได้แล้ว
นั้นแล.
สองบทว่า สุตฺตํ คามํ ได้แก่ หมู่สัตว์ผู้เข้าถึงความหลับ.
บทว่า มโหโฆว เป็นต้น ความว่า ห้วงมหานทีใหญ่ ทั้งลึก

ทั้งกว้าง พูดชาวบ้านเห็นปานนั้นไปหมด โดยที่สุดแม้สุนัขก็มิให้เหลือไว้
ฉันใด; มัจจุย่อมพานระมีประการดังกล่าวแล้วไปฉันนั้น.
ในกาลจบเทศนา นางกิสาโคตมีตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนา
ได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องนางกิสาโคตมี จบ.

10. เรื่องนางปฏาจารา [213]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางปฏาจารา
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น สนฺติ ปุตฺตา " เป็นต้น.

ไม่มีใครต้านทานมัจจุได้


เรื่องข้าพเจ้ากล่าวพิสดารไว้แล้ว ในการพรรณนาพระคาถาใน
สหัสสวรรค ว่า:-
" ก็ผู้ใดไม่เห็นความเกิดและความเสื่อม พึงเป็น
อยู่สิ้น 100 ปี, ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นความ
เกิดและความเสื่อม ยังประเสริฐกว่าความเป็นอยู่
ของผู้นั้น. "

ก็ในกาลนั้น พระศาสดาทรงทราบนางปฏาจาราว่า มีความโศก
เบาบางแล้ว จึงตรัสว่า " ปฏาจารา ชื่อว่าปิยชนทั้งหลายมีบุตรเป็นต้น
ย่อมไม่สามารถเป็นผู้ต้านทานหรือป้องกัน ของบุคคลผู้ไปสู่ปรโลกได้.
เพราะฉะนั้น ชนเหล่านั้นแม้มีอยู่ ก็ชื่อว่าไม่มีแท้: อันการที่บัณฑิตชำระศีล
ให้หมดจดแล้ว ชำระหนทางเป็นที่ไปพระนิพพานเพื่อตนนั่นแล ย่อม
ควร " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้
ว่า :-
10. น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย น ปิตา นปิ พนฺธวา
อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส นตฺถิ ญาตีสุ ตาณตา