เมนู

พ่อค้า. ท่านผู้เจริญ ก็อันตรายจักมีหรือ ?
อานนท์. เออ อุบาสก, ชีวิตของท่านจักเป็นไปได้ตลอด 7 วัน
เท่านั้น.
เขาเป็นผู้มีใจสังเวชแล้ว นิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข ถวายมหาทานตลอด 7 วัน แล้วรับมาตรเพื่อประโยชน์แก่การ
อนุโมทนา.

คนเขลาย่อมไม่รู้อันตรายแห่งชีวิต


ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงทำอนุโมทนาแก่เขา ตรัสว่า
" อุบาสก ธรรมดาบัณฑิตคิดว่า ' เราจักอยู่ในที่นี้นี่แหละตลอดฤดูฝน
เป็นต้น, จักประกอบการงานชนิดนี้ ๆ' ย่อมไม่ควร, ควรคิดถึงอันตราย
แห่งชีวิตของตนเท่านั้น" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
8. อิธ วสฺสํ วสิสิสามิ อิธ เหมนฺตคิมฺหิสุ
อิติ พาโล วิจินฺเตติ อนฺตรายํ น พุชฺฌติ.

" คนพาลย่อมคิดว่า ' เราจักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดู
ฝน, จักอยู่ในที่นี้ ในฤดูหนาวและฤดูร้อน ' หารู้
อันตรายไม่."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ วสฺสํ ความว่า เราจักอยู่ทำการ
งานชนิดนี้ ๆ ในที่นี้ ตลอดฤดูฝน 4 เดือน.
บทว่า เหมนฺตคิมฺหิสุ ความว่า คนพาลผู้ไม่รู้ประโยชน์อันเป็นไป
ในทิฏฐธรรมและสัมปรายภพ ย่อมคิดอย่างนี้ว่า " เราจักอยู่ทำการงาน
ชนิดนี้ ๆในที่นี้นี่แหละ ตลอด 4 เดือน แม้ในฤดูหนาวและฤดูร้อน."

บทว่า อนฺตรายํ ความว่า ย่อมไม่รู้จักอันตรายแห่งชีวิตของตนว่า
"เราจักตายในกาล ในประเทศ หรือในวัยชื่อโน้น."
ในกาลจบเทศนา พ่อค้านั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, เทศนา
ได้มีประโยชน์ แม้แก่บุคคลที่ประชุมกันแล้ว. ฝ่ายพ่อค้าตามส่งเสด็จ
พระศาสดาแล้ว กลับมานอนบนที่นอน ด้วยคิดว่า " ดูเหมือนโรคใน
ศีรษะจะเกิดขึ้นแก่เรา," นอนแล้วด้วยอาการนั้นแหละ. ทำกาละแล้ว
บังเกิดในดุสิตวิมาน ดังนี้แล.
เรื่องพ่อค้ามีทรัพย์มาก จบ.

9. เรื่องนางกิสาโคตมี [212]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางกิสาโคตมี
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ตํ ปุตฺตปสุสมฺมตฺตํ " เป็นต้น.

ความตายเป็นของเที่ยง


เรื่องข้าพเจ้ากล่าวให้พิสดารไว้แล้ว ในการพรรณนาพระคาถาใน
สหัสสวรรค ว่า :-
"ก็ผู้ใดไม่เห็นบทอันไม่ตาย พึงเป็นอยู่สิ้น 100
ปี, ความเป็นอยู่วันเดียว ของผู้เห็นอมตบท ยัง
ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น."

ก็ในคราวนั้น พระศาสดาตรัสว่า " กิสาโคตมี เมล็ดพันธุ์ผักกาด
ประมาณหยิบมือหนึ่ง ท่านได้แล้วหรือ ?"
กิสาโคตมี. ไม่ได้ พระเจ้าข้า. (เพราะ) ในบ้านทั้งสิ้น คนตาย
แหละมีมากกว่าคนเป็นอยู่.

มัจจุย่อมพานระไปเหมือนห้วงน้ำใหญ่


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า " ท่านเข้าใจว่า ' บุตรของเรา
เท่านั้น ตาแล้ว,' ความตายนั่น เป็นธรรมเที่ยงแท้ของสรรพสัตว์,
เพราะมัจจุราชคร่าสรรพสัตว์ผู้มีอัธยาศัยยังไม่เต็มเปี่ยมเท่านั้น ซัดลงไป
ในสมุทรคืออบาย ดุจห้วงน้ำใหญ่ ฉะนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง
ธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-