เมนู

6. วนํ ฉินฺทถ มา รุกขํ วนโต ชายตี ภยํ
เฉตฺวา วนญฺจ วนกญฺจ นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโว.

ยาวํ หิ วนโถ น ฉิชฺชติ
อณุมตฺโตปิ นรสฺส นาริสุ
ปฏิพทฺธมโน ว ตาว โส
วจฺโฉ ขีรปโกว มาตริ.

" ท่านทั้งหลายจงตัดกิเลสดุจป่า อย่าตัดต้นไม้,
ภัยย่อมเกิดแต่กิเลสดุจป่า, ภิกษุทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลาย จงตัดกิเลสดุจป่า และดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ใน
ป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสดุจป่าเถิด; เพราะกิเลสดุจ
หมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า ถึงมีประมาณนิดหน่อยของนรชน
ยังไม่ขาดในนารีทั้งหลายเพียงใด, เขาเป็นเหมือน
ลูกโคที่ยังดื่มน้ำนม มีใจปฏิพัทธ์ในมารดาเพียง
นั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา รุกฺขํ ความว่า ก็เมื่อพระศาสดา
ตรัสว่า " ท่านทั้งหลายจงตัดป่า,' ภิกษุเหล่านั้นผู้บวชยังไม่นาน ความ
คิดในความเป็นผู้ใคร่เพื่อตัดต้นไม้จะเกิดขึ้นว่า " พระศาสดาย่อมให้พวก
เราถือมีดเป็นต้นตัดป่า;" เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงห้าม
ภิกษุเหล่านั้นว่า " เราพูดคำนั่น หมายเอาป่าคือกิเลสมีราคะเป็นต้น
(ต่างหาก ) มิได้พูดหมายเอาต้นไม้" จึงตรัสว่า "อย่าตัดต้นไม้."
บทว่า วนโต ความว่า ภัยแต่สัตว์ร้ายมีสีหะเป็นต้น ย่อมเกิด

จากป่าตามปกติ ฉันใด; แม้ภัยมีชาติเป็นต้น ย่อมเกิดจากป่าคือกิเลส
ฉันนั้น.
ในสองบทว่า วนํ วนฏฺฐญฺจ1 นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ต้นไม้ใหญ่
ชื่อว่าป่า, ต้นไม้เล็กที่ตั้งอยู่ในป่านั้น ชื่อว่าหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า อีกอย่าง
หนึ่ง ต้นไม้ที่เกิดก่อนชื่อว่าป่า ที่เกิดต่อ ๆ กันมา ชื่อว่าหมู่ไม้ตั้งอยู่
ในป่า (ฉันใด); กิเลสใหญ่ ๆ อันคร่าสัตว์ไว้ในภพ ชื่อว่ากิเลสดุจป่า,
กิเลสที่ให้ผลในปัจจุบัน ชื่อว่ากิเลสดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า; อีกอย่างหนึ่ง
กิเลสที่เกิดก่อน ชื่อว่ากิเลสดุจป่า ที่เกิดต่อ ๆ มา ชื่อว่ากิเลสดุจหมู่ไม้
ตั้งอยู่ในป่าฉันนั้นเหมือนกัน . ก็กิเลสชาตแม้ทั้งสองอย่างนั้น อันพระโยคี
พึงตัดด้วยญาณที่สัมปยุตด้วยมรรคที่ 4, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า " จงตัดกิเลสดุจป่า และดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า."
สองบทว่า นิพฺพนา โหถ แปลว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มี
กิเลสเถิด.
สองบทว่า ยาวญฺหิ วนฏฺโฐฑ2 ความว่า หมู่ไม้ที่ตั้งอยู่ในป่า คือ
กิเลสนั่น ถึงมีประมาณนิดหน่อยของนรชน ยังไม่ขาดในนารีทั้งหลาย
เพียงใด, เขาก็เป็นเหมือนลูกโคตัวยังดื่มน้ำนม มีใจปฏิพัทธ์ คือมีจิต
ข้องในมารดาเพียงนั้น.
ในเวลาจบทศนา พระเถระแก่เหล่านั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว,
เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพระเถระแก่ จบ.
1. บาลีเป็น วนถญฺจ. 2. ยาวํ หิ วนโถ.

9. เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ [210]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสัทธิวิหาริก
ของพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อุจฺฉินฺท " เป็นต้น.

มาณพบวชแล้วได้กัมมัฏฐานไม่ถูกอัธยาศัย


ได้ยินว่า บุตรของนายช่างทองคนหนึ่งมีรูปสวย บวชในสำนักของ
พระเถระแล้ว. พระเถระดำริว่า " พวกคนหนุ่ม มีราคะหนา" แล้วได้
ให้อสุภกัมมัฏฐานแก่ท่าน เพื่อกำจัดราคะ. แต่กัมมัฏฐานนั้นไม่เป็นที่สบาย
สำหรับท่าน; เพราะเหตุนั้น ท่านเข้าไปสู่ป่าแล้ว พยายามอยู่สิ้น 3 เดือน
ไม่ได้แม้ซึ่งคุณมาตรว่าความเป็นผู้มีจิตแน่แน่วแล้ว จึงมาสู่สำนักของ
พระเถระอีก, เมื่อพระเถระกล่าวว่า " ท่าน กัมมัฏฐานมาปรากฏแก่ท่าน
แล้วหรือ ?" จึงบอกความเป็นไปนั้น. ครั้งนั้น พระเถระกล่าว (กะท่าน)
ว่า "การถึงการปลงใจว่า ' กัมมัฏฐานไม่สำเร็จ,' ดังนี้ ย่อมไม่สมควร"
แล้วบอกกัมมัฏฐานนั้นแหละให้ดีขึ้นอีก แล้วได้ให้แก่ท่าน. แม้ในวาระ
ที่ 2 ท่านก็ไม่อาจยังคุณวิเศษอะไร ๆ ให้เกิดขึ้นได้ จึง (กลับ) มาบอก
แก่พระเถระ. แม้พระเถระบอกกัมมัฏฐานนั้นเอง ทำให้มีเหตุมีอุปมา.
ท่านก็มาบอกความที่กัมมัฏฐานไม่สำเร็จแม้อีก. พระเถระคิดว่า " ภิกษุ
ผู้ทำ (ความเพียร) ย่อมทราบนิวรณธรรม มีความพอใจในกามเป็นต้น
ซึ่งมีอยู่ในตนว่า ' มีอยู่ ' และที่ไม่มีว่า ' ไม่มี; ' ก็ภิกษุแม้นี้ เป็นผู้ทำ
(ความเพียร) มิใช่เป็นผู้ไม่ทำ, เป็นผู้ปฏิบัติ มิใช่เป็นผู้ไม่ปฏิบัติ; แต่
เราไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั่น, ภิกษุนั่นจักเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าพึงแนะ