เมนู

สามเณร. ท่านขอรับ หากท่านจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้ไซร้,
ผมจักเป็นที่พึ่งของท่าน.
พระโปฐิละ. ผมเป็นได้ ท่านสัตบุรุษ, เมื่อท่านกล่าวว่า ' จงเข้า
ไปสู่ไฟ,' ผมจักเข้าไปแม้สู่ไฟได้ทีเดียว.

พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร


ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระ ๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะ
ท่านว่า " ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."
จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระ
นั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า " พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้
หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น. แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำ ๆ เดียวเท่านั้น.
ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า " มาเถิด
ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า " ท่าน
ผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ 6 ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ย
เข้าไปภายในโดยช่อง ๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง 5
นอกนี้ ทำลายช่องที่ 6 แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง; บรรดา
ทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง 5 อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรม1นี้ไว้
ในมโนทวาร." ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้
เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น. พระโปฐิละนั้น
กล่าวว่า " ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลง
ในกรชกาย2 ปรารภสมณะธรรม.
1. คำว่า กรรม ในที่นี้ ได้แก่ บริกรรม หรือกัมมัฏฐาน. 2. แปลว่า ในกายบังเกิดด้วยธุลี
มีในสรีระ.

ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญา


พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ 120 โยชน์เทียว ทอด
พระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า " ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา (กว้างขวาง)
ดุจแผ่นดิน ด้วยประการใดแล; การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแล
ย่อมสมควร." แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้น
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
5. โยคา เว ชายตี ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย
เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ
ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.

"ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความ
สิ้นไปแห่งปัญญาเพราะการไม่ประกอบ, บัณฑิตรู้
ทาง 2 แพร่ง แห่งความเจริญและความเสื่อมนั่น
แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญาจะเจริญขึ้น
ได้."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยคา ความว่า เพราะการกระทำไว้
ในใจโดยอุบายอันแยบคายในอารมณ์ 38.
คำว่า ' ภูริ ' นั่น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันกว้างขวาง เสมอด้วย
แผ่นดิน. ความพินาศ ชื่อว่า ความสิ้นไป.
สองบทว่า เอตํ เทวฺธา ปถํ คือ ซึ่งการประกอบและการไม่
ประกอบนั่น.