เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขา ความว่า ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะ
อรรถว่าถูกทุกข์บีบคั้น. บทที่เหลือ ก็เช่นกับบทอันมีในก่อนนั้นแล.
แม้ในพระคาถาที่ 3 ก็มีนัยเช่นนั้นเหมือนกัน. ก็ในพระคาถาที่ 3
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความที่ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ตามประกอบ
แล้ว ในอันกำหนดสังขารโดยความเป็นอนัตตา ในกาลก่อนอย่างสิ้นเชิง
แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ขันธ์แม้ทั้งปวงเป็นอนัตตาแท้ เพราะ
อรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

" เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ' ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา,' เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์,
ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สพฺเพ ธมฺมา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประสงค์เอาขันธ์ 5 นี้เอง.
บทว่า อนตฺตา ความว่า ชื่อว่า อนัตตา คือว่างเปล่า ไม่มีเจ้าของ
ได้แก่ไม่มีอิสระ เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะใคร ๆ ไม่
อาจให้เป็นไปในอำนาจว่า " ธรรมทั้งปวง จงอย่าแก่ จงอย่าตาย."
บทที่เหลือ ก็เช่นกับบทที่มีแล้วในก่อนนั่นเอง ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุ 500 รูปอื่นอีก จบ.

3. เรื่องพระปธานกัมมิกติสสเถระ [206]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระปธาน-
กัมมิกติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุฏฺฐานกาลมฺหิ" เป็นต้น.

พวกภิกษุประสงค์จะกราบทูลคุณที่ตนได


ได้ยินว่า กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีประมาณ 500 คน บวชในสำนัก
พระศาสดา เรียนกัมมัฏฐานแล้วได้ไปสู่ป่า. บรรดาภิกษุเหล่านั้น รูปหนึ่ง
พักอยู่ในที่นั้นเอง. ที่เหลือทำสมณธรรมอยู่ในป่า บรรลุพระอรหัต คิด
ว่า " พวกเราจักกราบทูลคุณอันตนได้แล้วแด่พระศาสดา" ได้ (กลับ)
ไปยังกรุงสาวัตถีอีก. อุบาสกคนหนึ่ง เห็นภิกษุเหล่านั้นผู้เที่ยวบิณฑบาต
อยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง ในที่ประมาณโยชน์หนึ่งแต่กรุงสาวัตถี จึงต้อนรับ
ด้วยวัตถุทั้งหลายมียาคูและภัตเป็นต้น ฟังอนุโมทนาแล้ว จึงนิมนต์เพื่อ
ประโยชน์แก่การฉันในวันรุ่งขึ้น.
ภิกษุเหล่านั้น ไปถึงกรุงสาวัตถีในวันนั้นเอง เก็บบาตรและจีวร
ไว้แล้ว ในเวลาเย็นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมนั่งอยู่แล้ว. พระ-
ศาสดา ทรงแสดงความยินดีอย่างยิ่งกับด้วยภิกษุเหล่านั้น ได้ทรงทำการ
ต้อนรับแล้ว.

ความไม่รู้จักกาลให้เกิดความเดือดร้อน


ขณะนั้น ภิกษุสหายแห่งภิกษุเหล่านั้น ผู้ยังเหลืออยู่ในที่นั้น
คิดว่า " เมื่อพระศาสดาทรงทำการต้อนรับภิกษุเหล่านั้น พระโอษฐ์ย่อม
ไม่พอ (จะตรัส), แต่หาตรัสปราศรัยกับด้วยเราไม่ เพราะมรรคและผล