เมนู

2. เรื่องภิกษุ 500 รูปอื่นอีก [205]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ 500 รูป
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺเพ สงฺขารา" เป็นต้น.

ภิกษุเรียนกัมมัฏฐาน


ดังได้สดับมา ภิกษุเหล่านั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว
แม้พากเพียรพยายามอยู่ในป่า ก็ไม่บรรลุพระอรหัต จึงคิดว่า " เราจัก
เรียนกัมมัฏฐานให้วิเศษ" ดังนี้แล้วได้ไปสู่สำนักพระศาสดา.

ทางแห่งความหมดจด


พระศาสดาทรงพิจารณาว่า " กัมมัฏฐานอะไรหนอแล เป็นที่
สบายของภิกษุเหล่านี้ ?" จึงทรงดำริว่า " ภิกษุเหล่านี้ ในกาลแห่ง
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ตามประกอบแล้วในอนิจจลักษณะสิ้น
สองหมื่นปี, เพราะฉะนั้น การแสดงคาถาด้วยอนิจจลักษณะนั้นแลแก่เธอ
ทั้งหลาย สัก 1 คาถาย่อมควร ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย สังขาร
แม้ทั้งปวงในภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเลย เพราะ
อรรถว่ามีแล้วไม่มี " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
2. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

"เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ' สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง,' เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์, ความ
หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า สพฺเพ สงฺขารา เป็นต้น ความ
ว่า เมื่อใดบัณฑิตย่อมเห็นด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า " ขันธ์ทั้งหลายที่เกิด
ขึ้นแล้วในภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะต้องดับใน
ภพนั้น ๆ เอง," เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์อันเนื่องด้วยการบริหารขันธ์
นี้, เมื่อหน่ายย่อมแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งกิจ มีการ
กำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น.
บาทพระคาถาว่า เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ความว่า ความหน่ายใน
ทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด คือแห่งความผ่องแผ้ว.
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตผลแล้ว. เทศนา
ได้สำเร็จประโยชน์แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุ 500 รูปอื่นอีก จบ.


แม้ในพระคาถาที่ 2 เรื่องก็อย่างนั้นเหมือนกัน. ก็ในกาลนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบความที่ภิกษุเหล่านั้น ทำความเพียรในอัน
กำหนดสังขารโดยความเป็นทุกข์แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ขันธ์แม้
ทั้งปวง เป็นทุกข์แท้ เพราะอรรถว่าถูกทุกข์บีบคั้น" ดังนี้แล้ว จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า:-
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

" เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ' สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์,' เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์, ความ
หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด."