เมนู

ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิต. อธิบายว่า ท่านจงเป็นผู้เช่นนั้น อย่าเป็นอันธพาล.
สองบทว่า ทิพฺพํ อริยภูมึ ความว่า ท่านทำความเพียรอยู่อย่างนี้
ชื่อว่าผู้กำจัดมลทินได้แล้ว เพราะความเป็นผู้นำมลทินมีราคะเป็นต้นออก
เสียได้, ชื่อว่าไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน คือหมดกิเลส เพราะไม่มีกิเลสเพียง
ดังเนิน จักถึงชั้นสุทธาวาสภูมิเป็นที่อยู่แห่งพระอริยบุคคลผู้หมดจดแล้ว
5 ภูมิ.1
ในกาลจบเทศนา อุบาสกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนาได้มี
ประโยชน์ แม้แก่หมู่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

พวกบุตรถวายทานอีก


บุตรเหล่านั้น ทูลนิมนต์พระศาสดา แม้เพื่อประโยชน์ในวันรุ่งขึ้น
ถวายทานแล้ว ได้กราบทูลพระศาสดาผู้ทรงทำภัตกิจแล้ว ในเวลาทรง
อนุโมทนาว่า พระเจ้าข้า แม้ภัตนี้พวกข้าพระองค์ถวายให้เป็นชีวภัตเพื่อ
บิดาของปวงข้าพระองค์เหมือนกัน, ขอพระองค์จงทรงทำอนุโมทนาแก่
บิดานี้นี่แล."
พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนาแก่เขา ได้ตรัส 2 พระคาถา
นี้ว่า:-
อุปนีตวโยว ทานิสิ
สมฺปยาโตสิ ยมสฺส สนฺติกํ
วาโสปิ จ เต นตฺถิ อนฺตรา
ปาเถยฺยมฺปิ จ เต น วิชฺชติ.

1. 5 ภูมิคือ อวิหา 1 อตัปปา 1 สุทัสสา 1 สุทัสสี 1 อกนิฏฐา 1 ภูมิทั้ง 5 นี้อยู่ในพรหมโลก
ชั้นสุทธาวาส เป็นที่เกิดแห่งพระอนาคามี.

โส กโรหิ ทีปมตฺตโน
ขิปฺปํ วายม ปณฺฑิโต ภว
นิทฺธนฺตมโล อนงฺคโณ
น ปุน ชาติชรํ อุเปหิสิ.

"บัดนี้ ท่านเป็นผู้มีวัยอันชรานำเข้าไปแล้ว,
เป็นผู้เตรียมพร้อม เพื่อจะไป สำนักของพระยายม,
อนึ่ง แม้ที่พัก ในระหว่างหาง ของท่าน ก็ยังไม่มี,
อนึ่ง ถึงเสบียงทางของท่าน ก็หามีไม่, ท่านนั้นจงทำ
ที่พึ่งแก่ตน, จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านเป็น
ผู้มีมลทินอันกำจัดได้แล้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
จักไม่เข้าถึงชาติชราอีก."

แก้อรรถ


ศัพท์ว่า อุป ในบทว่า อุปนีตวโย ในพระคาถานั้น เป็นเพียง
นิบาต. ท่านมีวัยอันชรานำไปแล้ว คือมีวัยผ่านไปแล้ว ได้แก่มีวัยล่วง
ไปแล้ว. อธิบายว่า บัดนี้ ท่านล่วงวัยทั้งสามแล้ว ดังอยู่ใกล้ปากของ
ความตาย.
บาทพระคาถาว่า สนฺปยาโตสิ ยมสฺส สนฺติกํ ความว่า ท่าน
ตระเตรียมจะไปสู่ปากของความตายตั้งอยู่แล้ว.
บาทพระคาถาว่า วาโสปิ จ เต นตฺถิ อนฺตรา ความว่า พวกคน
เดินทาง ย่อมพักทำกิจนั้น ๆ ในระหว่างทางได้ฉันใด; คนไปสู่ปรโลก
ย่อมพักอยู่ฉันนั้นไม่ได้. เพราะคนไปสู่ปรโลกไม่อาจเพื่อจะกล่าวคำเป็นต้น