เมนู

ครั้ง, เผาเรือน 7 ครั้ง, บัดนี้ แม้พระคันธกุฎี ก็จักเป็นเจ้าคนนั้น
แหละเผา ข้าพระองค์ขอให้ส่วนบุญในทานนี้แก่เขาก่อน. "

ผู้ทำกรรมดีย่อมชนะผู้ทำกรรมชั่ว


โจรได้ยินคำนั้น ระทมทุกข์ว่า " เราทำกรรมอันหนักหนอ เมื่อ
เป็นอย่างนั้น บุรุษนี้ก็มิได้มีแม้สักว่าความแค้นเคืองในเราผู้ทำผิด (ยัง
กลับ) ให้ส่วนบุญในทานนี้แก่เราก่อนเสียด้วย; เราคิดประทุษร้ายใน
บุรุษนี้ (ไม่สมควรเลย) แม้เทวทัณฑ์พึงตกลงบนกระหม่อมของเราผู้ไม่
ให้บุรุษผู้เห็นปานนี้อดโทษให้." ดังนี้แล้ว จึงไปหมอบลงที่ใกล้เท้าของ
เศรษฐี กล่าวว่า " นายขอรับ ขอท่านจงกรุณาอดโทษแก่ผมเถิด. เมื่อ
เศรษฐีกล่าวว่า " อะไรกันนี่ ? " จึงเรียนว่า " นายขอรับ ผมได้ทำกรรม
ประมาณเท่านี้ ๆ. ขอท่านจงอดโทษนั้นแก่ผมเถิด, "
ทีนั้น เศรษฐีถามกรรมทุก ๆ อย่างกะเขาว่า " เจ้าทำกรรมนี้ด้วย
นี้ด้วย ประมาณเท่านี้แก่เราหรือ ? " เมื่อเขารับสารภาพว่า ' ขอรับ ผม
ทำ " จึงถาม (ต่อไป) ว่า " เราไม่เคยเห็นเจ้าเลย เหตุไรเจ้าจึงโกรธ
ได้ทำอย่างนั้นแก่เรา ?."
เขาเตือนให้เศรษฐีระลึกถึงคำ ที่ตนผู้ออกจากพระนครในวันหนึ่ง
พูดแล้ว ได้บอกว่า " ผมเกิดความแค้นเคืองขึ้นเพราะเหตุนี้."
เศรษฐีระลึกถึงความแห่งถ้อยคำที่ตนพูดได้เเล้ว ให้โจรอดโทษให้
ด้วยถ้อยคำว่า " เออพ่อ เราพูดจริง, เจ้าจงอดโทษข้อนั้นแก่เราเถิด. "
แล้วกล่าวว่า 'ลุกขึ้นเถิด เราอดโทษให้แก่เจ้าละ, เจ้าจงไปเถิด. ''
โจร. นายขอรับ ถ้าท่านอดโทษแก่ผมไซร้. ขอจงทำผมพร้อม
ทั้งบุตรและภริยา ให้เป็นทาส (ผู้รับใช้) ในเรือนของท่านเถิด

เศรษฐี. แน่ะพ่อ เมื่อเรากล่าวคำมีประมาณเท่านี้. เจ้าก็ได้ทำการ
ตัดเห็นปานนี้. เราไม่อาจจะกล่าวอะไร ๆ กับ เจ้าผู้อยู่ในเรือนได้เลย. เรา
ไม่มีกิจเกี่ยวด้วยเจ้าผู้จะอยู่ในเรือน. เราอดโทษให้เเก่เจ้า, ไปเถิด พ่อ
โจรครั้นทำกรรมนั้นแล้ว ในกาลสิ้นอายุ บังเกิดแล้วในอเวจี
ไหม้ในอเวจีสิ้นกาลนาน ในกาลบัดนี้ เกิดเป็นอชครเปรต ถูกไฟไหม้
อยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ด้วยวิบาก [แห่งกรรม] ที่ยังเหลือ.
พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมของเปรตนั้นอย่างนี้แล้ว จึง
ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาคนพาล ทำกรรมอันลามกอยู่ ย่อมไม่
รู้. แต่ภายหลัง เร่าร้อนอยู่เพราะกรรมอันตนทำแล้ว ย่อมเป็นเช่นกับ
ไฟไหม้ป่า ด้วยตนของตนเอง " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง
ธรรม จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
6. อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิหฑฺโฒว ตปฺปติ.
" อันคนพาล ทำกรรมทั้งหลายอันลามกอยู่ ย่อม
ไม่รู้ (สึก) บุคคลมีปัญญาทราม ย่อมเดือดร้อน ดุจ
ถูกไฟไหม้ เพราะกรรมของตนเอง. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถ ปาปานิ ความว่า คนพาลหาใช่ทำ
บาปทั้งหลายด้วยสามารถแห่งความโกรธอย่างเดียวไม่, แม้ทำอยู่ก็ไม่รู้สึก.
แต่เมื่อทำบาปอยู่ จะชื่อว่า ไม่รู้ว่า " เราทำบาป " ย่อมไม่มี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " ย่อมไม่รู้ เพราะความไม่รู้ว่า " ผล
ของกรรมนี้ มีชื่อเห็นปานนี้."