เมนู

เหมือนกัน. แต่เราไม่พูด เพราะคิดเห็นว่า ' ก็แลชนเหล่าใดไม่พึงเชื่อ
คำของเรา ความไม่เชื่อนั้นของคนเหล่านั้น พึงเป็นไปเพื่อหาประโยชน์
เกื้อกูลมิได้ ' บัดนี้ เราได้โมคคัลลานะเป็นพยานแล้วจึงพูดได้." อัน
ภิกษุทั้งหลายทูลถามบุรพกรรมของเปรตนั้นแล้ว จึงทรงพยากรณ์ (ดัง
ต่อไปนี้) ว่า

บุรพกรรมของอชครเปรต


ดังได้ยินมา ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ
เศรษฐีชื่อว่าสุมงคล ปูพื้นที่ด้วยแผ่นอิฐทองคำ ให้สร้างวิหารในที่
ประมาณ 20 อุสภะ ด้วยทรัพย์ประมาณเท่านั้นแล้ว ก็ให้ทำการฉลองด้วย
ทรัพย์ประมาณเท่านั้นเหมือนกัน. วันหนึ่ง ท่านเศรษฐีไปสู่สำนักพระ-
ศาสดาแต่เช้าตรู่ เห็นโจรคนหนึ่งนอนเอาผ้ากาสาวะคลุมร่างตลอดถึงศีรษะ
ทั้งมีเท้าเปื้อนโคลน อยู่ในศาลาหลังหนึ่ง ใกล้ประตูพระนคร จึงกล่าวว่า
" เจ้าคนนี้ มีเท้าเปื้อนโคลน คงจักเป็นมนุษย์ที่เที่ยวเตร่ในเวลากลางคืน
แล้ว (มา) นอน. "

กรรมชั่วให้ผลชั่ว


โจรเปิดหน้าเห็นเศรษฐีแล้ว คิดในใจว่า " เอาเถอะน่ะ. เราจัก
รู้กรรมที่ควรทำแก่มัน " ดังนี้แล้วก็ผูกอาฆาตไว้ ได้เผานา (ของเศรษฐี)
7 ครั้ง ตัดเท้าโคทั้งหลาย ในคอก 7 ครั้ง เผาเรือน 7 ครั้ง เขาไม่อาจ
ให้ความแค้นเคืองดับได้ แม้ด้วยทารุณกรรมมีประมาณเท่านั้น จึงทำการ
สนิทชิดเชื้อกับคนใช้ของเศรษฐีนั้นแล้ว ถามว่า " อะไรเป็นที่รักของ
เศรษฐี (นาย) ของท่าน ? " ได้ฟังว่า " วัตถุเป็นที่รักยิ่งของเศรษฐีอื่น

จากพระคันธกุฎี ย่อมไม่มี " คิดว่า " เอาละ, เราจักเผาพระคันธกุฎี ยัง
ความแค้นเคืองให้ดับ. " เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปบิณฑบาต. จึงทุบ
หม้อน้ำสำหรับดื่มและสำหรับใช้ ได้จุดไฟที่พระคันธกุฎีแล้ว.
เศรษฐีได้ทราบว่า " ข่าวว่า พระคันธกุฎีถูกไฟไหม้ " เดินมา
อยู่ ในเวลาพระคันธกุฎีถูกไฟไหม้เเล้ว จึงมาถึง แลดูพระคันธกุฎีที่ไฟ
ไหม้ ก็มิได้ทำความเสียใจแม้สักเท่าปลายขนทราย คู้แขนข้างซ้ายเข้ามา
ปรบด้วยมือข้างขวาอย่างขนานใหญ่.
ขณะนั้น ประชาชนยืนอยู่ ณ ที่ใกล้ ถามท่านเศรษฐีว่า " นาย
ขอรับ เพราะเหตุไร ท่านจึงปรบมือ ในเวลาที่พระคันธกุฎีซึ่งท่านสละ
ทรัพย์ประมาณเท่านี้สร้างไว้ถูกไฟไหม้เล่า ? "
เศรษฐีตอบว่า " พ่อแม่ทั้งหลาย ข้าพเจ้าทำกรรมประมาณเท่านี้
(ชื่อว่า) ได้ฝังทรัพย์ไว้ในพระศาสนาที่ไม่สาธารณะแก่อันตรายมีไฟเป็น
ต้น, ข้าพเจ้าจึงมีใจยินดี ปรบมือด้วยคิดว่า ' เราจักได้สละทรัพย์ประมาณ
เท่านี้ สร้างพระคันธกุฎี (ถวาย) พระศาสดาแม้อีก."
ท่านเศรษฐี สละทรัพย์ประมาณเท่านั้น สร้างพระคันธกุฎีอีก ได้
ถวายแด่พระศาสดา ซึ่งมีภิกษุ 2 หมื่นรูปเป็นบริวาร.
โจรเห็นกิริยานั้นแล้ว คิดว่า " เราไม่ฆ่าเศรษฐีนี้เสีย จักไม่อาจ
ทำให้เก้อเขินได้, เอาเถอะ, เราจักฆ่ามันเสีย, " ดังนี้แล้ว จึงซ่อนกริช
ไว้ในระหว่างผ้านุ่ง แม้เดินเตร่อยู่ในวิหารสิ้น 7 วัน ก็ไม่ได้โอกาส.
ฝ่ายมหาเศรษฐีถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
สิ้น 7 วัน ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บุรุษผู้หนึ่งเผานาของข้าพระองค์ 7 ครั้ง ตัดเท้าโคในคอก 7

ครั้ง, เผาเรือน 7 ครั้ง, บัดนี้ แม้พระคันธกุฎี ก็จักเป็นเจ้าคนนั้น
แหละเผา ข้าพระองค์ขอให้ส่วนบุญในทานนี้แก่เขาก่อน. "

ผู้ทำกรรมดีย่อมชนะผู้ทำกรรมชั่ว


โจรได้ยินคำนั้น ระทมทุกข์ว่า " เราทำกรรมอันหนักหนอ เมื่อ
เป็นอย่างนั้น บุรุษนี้ก็มิได้มีแม้สักว่าความแค้นเคืองในเราผู้ทำผิด (ยัง
กลับ) ให้ส่วนบุญในทานนี้แก่เราก่อนเสียด้วย; เราคิดประทุษร้ายใน
บุรุษนี้ (ไม่สมควรเลย) แม้เทวทัณฑ์พึงตกลงบนกระหม่อมของเราผู้ไม่
ให้บุรุษผู้เห็นปานนี้อดโทษให้." ดังนี้แล้ว จึงไปหมอบลงที่ใกล้เท้าของ
เศรษฐี กล่าวว่า " นายขอรับ ขอท่านจงกรุณาอดโทษแก่ผมเถิด. เมื่อ
เศรษฐีกล่าวว่า " อะไรกันนี่ ? " จึงเรียนว่า " นายขอรับ ผมได้ทำกรรม
ประมาณเท่านี้ ๆ. ขอท่านจงอดโทษนั้นแก่ผมเถิด, "
ทีนั้น เศรษฐีถามกรรมทุก ๆ อย่างกะเขาว่า " เจ้าทำกรรมนี้ด้วย
นี้ด้วย ประมาณเท่านี้แก่เราหรือ ? " เมื่อเขารับสารภาพว่า ' ขอรับ ผม
ทำ " จึงถาม (ต่อไป) ว่า " เราไม่เคยเห็นเจ้าเลย เหตุไรเจ้าจึงโกรธ
ได้ทำอย่างนั้นแก่เรา ?."
เขาเตือนให้เศรษฐีระลึกถึงคำ ที่ตนผู้ออกจากพระนครในวันหนึ่ง
พูดแล้ว ได้บอกว่า " ผมเกิดความแค้นเคืองขึ้นเพราะเหตุนี้."
เศรษฐีระลึกถึงความแห่งถ้อยคำที่ตนพูดได้เเล้ว ให้โจรอดโทษให้
ด้วยถ้อยคำว่า " เออพ่อ เราพูดจริง, เจ้าจงอดโทษข้อนั้นแก่เราเถิด. "
แล้วกล่าวว่า 'ลุกขึ้นเถิด เราอดโทษให้แก่เจ้าละ, เจ้าจงไปเถิด. ''
โจร. นายขอรับ ถ้าท่านอดโทษแก่ผมไซร้. ขอจงทำผมพร้อม
ทั้งบุตรและภริยา ให้เป็นทาส (ผู้รับใช้) ในเรือนของท่านเถิด