เมนู

2. เรื่องพระเสยยสกัตเถระ [96]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเสยยส-
กัตเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา" เป็นต้น.

พระเถระทำปฐมสังฆาทิเสส


ดังได้สดับมา พระเสยยสกัตเถระนั้น เป็นสัทธิวิหาริกของพระ-
โลฬุทายีเถระ บอกความไม่ยินดี1ของตนแก่พระโลฬุทายีนั้น ถูกท่าน
ชักชวนในการทำปฐมสังฆาทิเสส เมื่อความไม่ยินดีเกิดทวีขึ้น ได้ทำกรรม
นั้นแล้ว.

กรรมชั่วให้ทุกข์ในภพทั้ง


พระศาสดา ได้สดับกิริยาของเธอ รับสั่งให้เรียกเธอมาแล้ว ตรัส
ถามว่า " ได้ยินว่า เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ ? " เมื่อเธอทูลว่า " อย่างนั้น
พระเจ้าข้า ? " จึงตรัสว่า " แน่ะโมฆบุรุษ เหตุไร เธอจึงได้ทำกรรมหนัก
อันไม่สมควรเล่า ? " ทรงติเตียนโดยประการต่าง ๆ ทรงบัญญัติสิกขาบท
แล้ว ตรัสว่า " ก็กรรมเห็นปานนี้ เป็นกรรมยังสัตว์ให้เป็นไปเพื่อทุกข์
อย่างเดียว ทั้งในภพนี้ทั้งในภพหน้า " เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
2. ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.

"ถ้าบุรุษพึงทำบาปไซร้, ไม่ควรทำบาปนั้น
บ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น. เพราะว่า
ความสั่งสมบาปเป็นเหตุให้เกิดทุกข์."

1. อนภิรดี บางแห่งแปลว่า ความกระสัน.

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถามนั้นว่า " ถ้าบุคคลพึงทำกรรมลามกคราว
เดียว. ควรพิจารณาในขณะนั้นแหละ สำเหนียกว่า " กรรมนี้ไม่สมควร
เป็นกรรมหยาบ " ไม่ควรทำกรรมนั้นบ่อย ๆ. พึงบรรเทาเสีย ไม่ควรทำ
แม้ซึ่งความพอใจ หรือความชอบใจในบาปกรรมนั้น ซึ่งจะพึงเกิดขึ้น
เลย.
ถามว่า " เพราะเหตุไร ? "
แก้ว่า " เพราะว่า ความสั่งสม คือความพอกพูนบาป เป็นเหตุ
ให้เกิดทุกข์ คือย่อมนำแต่ทุกข์มาให้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้า. "
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี
โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระเสยยสกัตเถระ จบ.