เมนู

5. เรื่องอุโบสถกรรม [111]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม ทรงปรารภอุโบสถกรรม
ของอุบาสิกาทั้งหลายมีนางวิสาขาเป็นต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยถา
ทณฺเฑน โคปาโล "
เป็นต้น.

หญิงรักษาอุโบสถมุ่งผลต่างกัน


ดังได้สดับมา ในวันอุโบสถวันหนึ่ง หญิงประมาณ 500 คนใน
นครสาวัตถี เป็นผู้รักษาอุโบสถ ได้ไปสู่วิหาร. นางวิสาขาเข้าไปหา
หญิงแก่ๆ ในจำนวนหญิง 500 นั้นแล้ว ถามว่า " แน่ะแม่ทั้งหลาย พวก
ท่านเป็นผู้รักษาอุโบสถ เพื่ออะไร ? " เมื่อหญิงแก่เหล่านั้นบอกว่า " พวก
ฉันปรารถนาทิพยสมบัติ จึงรักษาอุโบสถ. " ถามพวกหญิงกลางคน,
เมื่อพวกหญิงเหล่านั้นบอกว่า " พวกฉันรักษาอุโบสถ ก็เพื่อต้องการพ้น
จากการอยู่กับหญิงร่วมสามี. " ถามพวกหญิงสาว ๆ. เมื่อพวกเขาบอกว่า
" พวกฉันรักษาอุโบสถ เพื่อต้องการได้บุตรชายในการมีครรภ์คราวแรก. "
ถามพวกหญิงสาวน้อย. เมื่อพวกเขาบอกว่า " พวกฉันรักษาอุโบสถ เพื่อ
ต้องการไปสู่สกุลผัวแต่ในวัยสาว ๆ. " (นาง) ได้ฟังถ้อยคำแม้ทั้งหมดของ
หญิงเหล่านั้นแล้ว ก็พาพวกเขาไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูล (ความ
ประสงค์ของหญิงเหล่านั้น) ตามลำดับ.

สรรพสัตว์ถูกส่งไปเป็นทอด ๆ


พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า " วิสาขา ธรรมดาสภาว-
ธรรมทั้งหลายมีชาติเป็นต้นของสัตว์เหล่านี้ เป็นเช่นกับนายโคบาลที่มี

ท่อนไม้ในมือ. ชาติส่งสรรพสัตว์ไปสู่สำนักชรา ชราส่งไปสู่สำนักพยาธิ
พยาธิส่งไปสู่สำนักมรณะ มรณะย่อมตัดชีวิต ดุจบุคลตัดต้นไม้ด้วย
ขวาน. แต่เมื่อเป็นอย่างนั้น ปวงสัตว์ชื่อว่าปรารถนาวิวัฏฏะ(พระนิพพาน)
ย่อมไม่มี, มัวแต่ปรารถนาวัฏฏะเท่านั้น. " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ
แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
5. ยถา ทณฺเฑน โคปาโล คาโว ปาเชติ โคจรํ
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อายุํ ปาเชนฺติ ปาณินํ.
" นายโคบาล ย่อนต้อนโคทั้งหลายไปสู่ที่หากิน
ด้วยท่อนไม้ ฉันใด, ชราและมัจจุ ย่อมต้อนอายุ
ของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเชติ ความว่า นายโคบาลผู้ฉลาด
กันโคทั้งหลาย ตัวเข้าไปสู่ระหว่างคันนาด้วยท่อนไม้ ตีด้วยท่อนไม้นั้น
นั่นแหละ นำไปอยู่ ชื่อว่า ย่อมต้อน (โคทั้งหลาย) ไปสู่ที่หากิน ซึ่ง
มีหญ้าและน้ำหาได้ง่าย.
สองบทว่า อายุํ ปาเชนฺติ ความว่า ย่อมตัดอินทรีย์คือชีวิต คือ
ย่อมยังชีวิตินทรีย์ให้สิ้นไป. ในพระคาถานี้ มีคำอุปมาอุปไมย ฉะนี้ว่า
ก็ชราและมัจจุ เปรียบเหมือนนายโคบาล, อินทรีย์คือชีวิต เปรียบ
เหมือนฝูงโค, มรณะ เปรียบเหมือนสถานที่หากิน. บรรดาสภาวธรรม
เหล่านั้น ชาติส่งอินทรีย์คือชีวิตของสัตว์ทั้งหลายไปสู่สำนักชรา ชราส่ง