เมนู

ภิกษุทั้งหลาย ก็กล่าวกะพระเถระนั้นว่า " เฮ้ย คนทุศีล บัดนี้
พระราชากลายเป็นคนชั่วแล้ว. "
แม้พระเถระนั้น ในกาลก่อนไม่อาจจะกล่าวอะไรๆ กะภิกษุทั้งหลาย
ได้, บัดนี้ กล่าวตอบทันทีว่า " พวกท่านเป็นผู้ทุศีล. พวกท่านเป็นคน
ชั่ว, พวกท่านพาหญิงเที่ยวไป. "
ภิกษุเหล่านั้น ไปกราบทูลแด่พระศาสดาว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระโกณฑธานะ อันข้าพระองค์ทั้งหลายว่ากล่าวแล้ว กลับกล่าวด่าต่างๆ
เป็นต้นว่า 'แม้พวกท่าน ก็เป็นผู้ทุศีล. "

พระศาสดาทรงไต่สวนทั้งสองฝ่าย


พระศาสดา รับสั่งให้เรียกพระโกณฑธานะนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า
" ภิกษุ ข่าวว่า เธอกล่าวอย่างนั้น จริงหรือ ? "
พระเถระ กราบทูลว่า " จริง พระเจ้าข้า."
พระศาสดา. เพราะเหตุไร ? เธอจึงกล่าวอย่างนั้น.
พระเถระ. เพราะเหตุที่ภิกษุเหล่านั้นกล่าวกับข้าพระองค์.
พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ? แม้พวกท่านจึงกล่าว
กะภิกษุนี้ (อย่างนั้น).
พวกภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เห็นหญิงเที่ยว
ไปข้างหลังภิกษุนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.
พระศาสดา. นัยว่า ภิกษุเหล่านี้เห็นหญิงเที่ยวไปกับเธอ จึงกล่าว
(ขึ้นอย่างนั้น) ส่วนตัวเธอไม่ได้เห็นเลย เหตุไฉน ? จึงกล่าวกะภิกษุ

เหล่านี้ (อย่างนั้นเล่า ?). ผลนี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยทิฏฐิลามกของเธอใน
กาลก่อนมิใช่หรือ ? เหตุไร ในบัดนี้ เธอจึงถือทิฏฐิลามกอีกเล่า ?
พวกภิกษุทูลถามว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุนี้ได้ทำกรรม
อะไรในปางก่อน ? "
ทีนั้น พระศาสดา ตรัสบุรพกรรมของท่านแก่ภิกษุเหล่านั้นแล้ว
ตรัสว่า " ภิกษุ เธออาศัยกรรมลามกนี้ จึงถึงประการอันแปลกนี้แล้ว
บัดนี้ การที่เธอถือทิฏฐิอันลามกเห็นปานนั้นอีก ไม่สมควร. เธออย่า
กล่าวอะไร ๆ กับภิกษุทั้งหลายอีก. จงเป็นผู้ไม่มีเสียง เช่นกังสดาลอัน
เขาตัดขอบปากแล้ว. เมื่อทำอย่างนั้น จักเป็นผู้ชื่อว่าบรรลุพระนิพพาน "
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ทรงภาษิตพระคาถา
เหล่านี้ว่า
4. มาโวจ ผรุสํ กญฺจิ วุตฺตา ปฏิวเทยฺยุ ตํ
ทุกฺขา หิ สารมฺภกถา ปฏิทณฺฑา ผุเสยฺยุ ตํ.
สเจ เนเรสิ อตฺตานํ กํโส อุปหโต ยถา
เอส ปตฺโตสิ นิพฺพานํ สารมฺโภ เต น วิชฺชติ.
" เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใคร ๆ, ชนเหล่าอื่น
ถูกเธอว่าแล้ว จะพึงตอบเธอ, เพราะการกล่าวแข่งขัน
กันให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบพึงถูกต้องเธอ, ผิเธอ
อาจยังตนไม่ให้หวั่นไหวได้ ดังกังสดาลที่ถูกกำจัด
แล้วไซร้ เธอนั่นย่อมบรรลุพระนิพพาน, การกล่าว
แข่งขันกัน ย่อมไม่มีแก่เธอ."

1. ระฆังวงเดือน.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กญฺจิ ความว่า อย่าได้กล่าวคำหยาบ
กะใคร ๆ คือแม้กะบุคคลผู้หนึ่ง.
บทว่า วุตฺตา ความว่า คนเหล่าอื่นถูกเธอกล่าวว่า " เจ้าพวกทุศีล, "
พึงกล่าวตอบเธอบ้าง อย่างนั้นเหมือนกัน.
บทว่า สารมฺภกถา ขึ้นชื่อว่าการกล่าวแข่งขันกันเกินกว่าเหตุนั้น
ให้เกิดทุกข์.
บทว่า ปฏิทณฺฑา ความว่า เมื่อเธอประหารผู้อื่น ด้วยอาชญา
ทั้งหลาย มีอาชญาทางกายเป็นต้น. อาชญาตอบเช่นนั้นแหละ พึงตกลง
เหนือกระหม่อมของเธอ.
บทว่า สเจ เนเรสิ ความว่า ถ้าเธอจักอาจทำตนไม่ให้หวั่นไหวได้
ไซร้.
บาทพระคาถาว่า กํโส อุปหโต ยถา ความว่า เหมือนกังสดาล ที่
เขาตัดขอบปากทำให้เหลือแต่พื้นวางไว้. จริงอยู่ กังสดาลเช่นนั้น แม้
บุคคลตีแล้วด้วยมือ เท้า หรือด้วยท่อนไม้ ก็ย่อมไม่ดัง.
สองบทว่า เอส ปตฺโตสิ ความว่า ถ้าเธอจักอาจเป็นผู้เห็นปานนั้น
ได้ไซร้. เธอนั่น บำเพ็ญปฏิปทานี้อยู่. เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วในบัดนี้
ชื่อว่าบรรลุพระนิพพาน.
บาทพระคาถาว่า สารมฺโภ เต น วิชฺชติ ความว่า ก็เมื่อเป็นอย่าง
นั้น แม้ความแข่งขันกัน มีอันกล่าวทำให้ยิ่งกว่ากันเป็นลักษณะเป็นต้น
อย่างนั้นว่า " เจ้าเป็นผู้ทุศีล " ว่า " พวกเจ้าเป็นผู้ทุศีล " ดังนี้ ย่อมไม่มี
คือจักไม่มีแก่เธอเลย.