เมนู

"บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี, พึงห้ามจิต
เสียจากบาป, เพราะว่า เมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่,
ใจจะยินดีในบาป."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิตฺเรถ ความว่า พึงทำด่วนๆ คือ
เร็ว ๆ. จริงอยู่ คฤหัสถ์เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า " จักทำกุศลบางอย่าง ในกุศล
ทานทั้งหลายมีถวายสลากภัตเป็นต้น " ควรทำไว ๆทีเดียว ด้วยคิดว่า
เราจะทำก่อน เราจะทำก่อน " โดยประการที่ชนเหล่าอื่นจะไม่ได้โอกาส
ฉะนั้น. หรือบรรพชิต เมื่อทำวัตรทั้งหลายมีอุปัชฌายวัตรเป็นต้น ไม่ให้
โอกาสแก่ผู้อื่น ควรทำเร็ว ๆ ทีเดียว ด้วยคิดว่า " เราจะทำก่อน เราจะ
ทำก่อน."
สองบทว่า ปาปา จิตฺตํ ความว่า ก็บุคคลพึงห้ามจิตจากบาปกรรม
มีกายทุจริตเป็นต้น หรือจากอกุศลจิตตุปบาท ในที่ทุกสถาน.
สองบทว่า ทนฺธิ หิ กรโต ความว่า ก็ผู้ใดคิดอยู่อย่างนั้นว่า " เรา
จักให้, จักทำ, ผลนี้จักสำเร็จแก่เราหรือไม่ " ชื่อว่าทำบุญช้าอยู่ เหมือน
บุคคลเดินทางลื่น. ความชั่วของผู้นั้นย่อมได้โอกาส เหมือนมัจเฉรจิต
พันดวงของพราหมณ์ชื่อเอกสาฎกฉะนั้น. เมื่อเช่นนั้นใจของเขาย่อมยินดี
ในความชั่ว, เพราะว่าในเวลาที่ทำกุศลกรรมเท่านั้นจิตย่อมยินดีในกุศล
กรรม, พ้นจากนั้นแล้ว ย่อมน้อมไปสู่ความชั่วได้แท้.
ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก จบ.

2. เรื่องพระเสยยสกัตเถระ [96]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเสยยส-
กัตเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา" เป็นต้น.

พระเถระทำปฐมสังฆาทิเสส


ดังได้สดับมา พระเสยยสกัตเถระนั้น เป็นสัทธิวิหาริกของพระ-
โลฬุทายีเถระ บอกความไม่ยินดี1ของตนแก่พระโลฬุทายีนั้น ถูกท่าน
ชักชวนในการทำปฐมสังฆาทิเสส เมื่อความไม่ยินดีเกิดทวีขึ้น ได้ทำกรรม
นั้นแล้ว.

กรรมชั่วให้ทุกข์ในภพทั้ง


พระศาสดา ได้สดับกิริยาของเธอ รับสั่งให้เรียกเธอมาแล้ว ตรัส
ถามว่า " ได้ยินว่า เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ ? " เมื่อเธอทูลว่า " อย่างนั้น
พระเจ้าข้า ? " จึงตรัสว่า " แน่ะโมฆบุรุษ เหตุไร เธอจึงได้ทำกรรมหนัก
อันไม่สมควรเล่า ? " ทรงติเตียนโดยประการต่าง ๆ ทรงบัญญัติสิกขาบท
แล้ว ตรัสว่า " ก็กรรมเห็นปานนี้ เป็นกรรมยังสัตว์ให้เป็นไปเพื่อทุกข์
อย่างเดียว ทั้งในภพนี้ทั้งในภพหน้า " เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
2. ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.

"ถ้าบุรุษพึงทำบาปไซร้, ไม่ควรทำบาปนั้น
บ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น. เพราะว่า
ความสั่งสมบาปเป็นเหตุให้เกิดทุกข์."

1. อนภิรดี บางแห่งแปลว่า ความกระสัน.