เมนู

3. เรื่องเด็กหลายคน [109]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภเด็กเป็นอัน
มาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สุขกามานิ ภูตานิ " เป็นต้น.

พระศาสดาทรงพบพวกเด็กตีงู


ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง พระศาสดาเสด็จทรงบาตรเข้าไปใน
กรุงสาวัตถี ทรงเห็นพวกเด็กเป็นอันมาก เอาไม้ตีงูเรือน1ตัวหนึ่ง ใน
ระหว่างทาง ตรัสถามว่า " แน่ะ เจ้าเด็กทั้งหลาย พวกเจ้าทำอะไรกัน ? "
เมื่อเด็กเหล่านั้นกราบทูลว่า " พวกข้าพระองค์เอาไม้ตีงู " พระเจ้าข้า "
ตรัสถามอีกว่า " เพราะเหตุไร ? " เมื่อพวกเขากราบทูลว่า " เพราะกลัว
มันกัด พระเจ้าข้า " จึงตรัสว่า " พวกเจ้าตีงูนี้ด้วยคิดว่า 'จักทำความสุข
แก่ตน ' จักไม่เป็นผู้ได้รับความสุขในที่แห่งตนเกิดแล้ว ๆ. แท้จริง บุคคล
เมื่อปรารถนาสุขแก่ตน (แต่) ประหารสัตว์อื่น ย่อมไม่ควร " ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
3. สุขกานานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ.
สุขกานานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ ลภเต สุขํ.
" สัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่สุข บุคคล
ใดแสวงหาสุขเพื่อตน, แต่เบียดเบียนสัตว์อื่นด้วย
ท่อนไม้ บุคคลนั้นละไปแล้วย่อมไม่ได้สุข. สัตว์ผู้

1. คืองูที่อาศัยอยู่ตามเรือน เช่นงูเขียว งูลายสอ เป็นต้น.

เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่สุข, บุคคลใดแสวงหา
สุขเพื่อตน, ไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) ด้วยท่อนไม้,
บุคคลนั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย ทณฺเฑน ความว่า บุคคลใด
ย่อมเบียดเบียน (ผู้อื่น) ด้วย ท่อนไม้หรือวัตถุทั้งหลายมีก้อนดินเป็นต้น.
บาทพระคาถาว่า เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ ความว่า บุคคลนั้น
ย่อมไม่ได้สุขสำหรับมนุษย์ สุขอันเป็นทิพย์ หรือสุขคือพระนิพพาน อัน
เป็นปรมัตถ์ (สุข) ในโลกหน้า.
ในพระคาถาที่ 2 (มีความว่า) หลายบทว่า เปจฺจ โส ลภเต สุขํ
ความว่า บุคคลนั้นย่อมได้สุขทั้ง 3 อย่าง มีประการดังกล่าวแล้วใน
ปรโลก.
ในกาลจบเทศนา เด็กเหล่านั้นทั้ง 500 ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
ดังนี้แล.
เรื่องเด็กหลายคน จบ.