เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า สพฺเพสํ ชีวิตํ ปิยํ ความว่า
ชีวิตย่อมเป็นที่รักยิ่งของเหล่าสัตว์ที่เหลือ เว้นพระขีณาสพเสีย. อันพระ-
ขีณาสพ ย่อมเป็นผู้วางเฉยในชีวิตหรือในมรณะโดยแท้. คำที่เหลือ เช่น
กับคำอันมีในก่อนนั่นแล.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ.

3. เรื่องเด็กหลายคน [109]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภเด็กเป็นอัน
มาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สุขกามานิ ภูตานิ " เป็นต้น.

พระศาสดาทรงพบพวกเด็กตีงู


ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง พระศาสดาเสด็จทรงบาตรเข้าไปใน
กรุงสาวัตถี ทรงเห็นพวกเด็กเป็นอันมาก เอาไม้ตีงูเรือน1ตัวหนึ่ง ใน
ระหว่างทาง ตรัสถามว่า " แน่ะ เจ้าเด็กทั้งหลาย พวกเจ้าทำอะไรกัน ? "
เมื่อเด็กเหล่านั้นกราบทูลว่า " พวกข้าพระองค์เอาไม้ตีงู " พระเจ้าข้า "
ตรัสถามอีกว่า " เพราะเหตุไร ? " เมื่อพวกเขากราบทูลว่า " เพราะกลัว
มันกัด พระเจ้าข้า " จึงตรัสว่า " พวกเจ้าตีงูนี้ด้วยคิดว่า 'จักทำความสุข
แก่ตน ' จักไม่เป็นผู้ได้รับความสุขในที่แห่งตนเกิดแล้ว ๆ. แท้จริง บุคคล
เมื่อปรารถนาสุขแก่ตน (แต่) ประหารสัตว์อื่น ย่อมไม่ควร " ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
3. สุขกานานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ.
สุขกานานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ ลภเต สุขํ.
" สัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่สุข บุคคล
ใดแสวงหาสุขเพื่อตน, แต่เบียดเบียนสัตว์อื่นด้วย
ท่อนไม้ บุคคลนั้นละไปแล้วย่อมไม่ได้สุข. สัตว์ผู้

1. คืองูที่อาศัยอยู่ตามเรือน เช่นงูเขียว งูลายสอ เป็นต้น.