เมนู

2. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [108]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกภิกษุ-
ฉัพพัคคีย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺเพ สนฺติ " เป็นต้น.

เหตุให้ทรงบัญญัติตลสัตติกสิกขาบท


ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เงือดเงื้อหอก
คือฝ่ามือแก่พวกภิกษุสัตตรสพัคคีย์เหล่านั้น ด้วยเหตุที่ตนประหารพวก
สัตตรสพัคคีย์ ในสิกขาบทก่อนนั้นนั่นแล.
แม้ในเรื่องนี้ พระศาสดาทรงสดับเสียงของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ก็
ตรัสถามว่า " นี่อะไรกัน ? " ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " เรื่องชื่อนี้ " แล้ว
ตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จำเดิมแต่นี้ไป ธรรมดาภิกษุไม่ควรทำ
อย่างนี้, ภิกษุใดทำ, ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติชื่อนี้ " ดังนี้แล้ว ทรงบัญญัติ
ตลสัตติกสิกขาบท ตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุทราบว่า
แม้สัตว์เหล่าอื่นย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา อย่างเดียวกับเราเหมือนกัน,
อนึ่ง ชีวิตก็ย่อมเป็นที่รักของสัตว์เหล่านั้น เหมือนของเราโดยแท้ ไม่ควร
ประหารเอง ไม่ควรใช้ผู้อื่นให้ฆ่า " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ
แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
2. สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพสํ ชีวิตํ ปิยํ
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย.
" สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา ชีวิต
ย่อมเป็นที่รักของสัตว์ทั้งหมด. บุคคลควรทำตนให้
เป็นอุปมาแล้ว ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ให้ฆ่า. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า สพฺเพสํ ชีวิตํ ปิยํ ความว่า
ชีวิตย่อมเป็นที่รักยิ่งของเหล่าสัตว์ที่เหลือ เว้นพระขีณาสพเสีย. อันพระ-
ขีณาสพ ย่อมเป็นผู้วางเฉยในชีวิตหรือในมรณะโดยแท้. คำที่เหลือ เช่น
กับคำอันมีในก่อนนั่นแล.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ.