เมนู

กัน " รับสั่งให้พระราชทานหมวด 4 แห่งวัตถุทุกอย่าง จนถึงร้อยแห่ง
วัตถุทั้งหมด ทำให้เป็นอย่างละ 4 แก่พราหมณ์นั้น อย่างนี้ คือช้าง 4
ม้า 4 กหาปณะ1สี่พัน สตรี 4 ทาสี 4 บุรุษ 4 บ้านส่วย 4 ตำบล.

รีบทำกุศลดีกว่าทำช้า


ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมว่า " แม้ ! กรรมของพราหมณ์
ชื่อจูเฬกสาฎก น่าอัศจรรย์. ชั่วครู่เดียวเท่านั้น เขาได้หมวด 4 แห่ง
วัตถุทุกอย่าง. กรรมอันงามเขาทำในที่อันเป็นเนื้อนาในบัดนี้นั่นแล ให้
ผลในวันนี้ทีเดียว. "
พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลาย
นั่งสนทนากันด้วยกถาอะไรเล่า ? " เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยกถาชื่อ
นี้ พระเจ้าข้า " ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเอกสาฎกนี้จักได้อาจเพื่อถวาย
แก่เราในปฐมยามไซร้ เขาจักได้สรรพวัตถุอย่างละ 16, ถ้าจักได้อาจ
ถวายในมัชฌิมยามไซร้ เขาจักได้สรรพวัตถุอย่างละ 8, แต่เพราะถวาย
ในเวลาจวนใกล้รุ่ง เขาจึงได้สรรพวัตถุอย่างละ 4, แท้จริง กรรมงาม
อันบุคคลผู้เมื่อกระทำ ไม่ให้จิตที่เกิดขึ้นเสื่อมเสียควรทำในทันทีนั้นเอง,
ด้วยว่า กุศลที่บุคคลทำช้า เมื่อให้สมบัติ ย่อมให้ช้าเหมือนกัน เพราะ
ฉะนั้น พึงทำกรรมงามในลำดับแห่งจิตตุปบาททีเดียว " เมื่อทรงสืบอนุ-
สนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
1. อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ ปาปา จิตฺตํ นิวารเย
ทนฺธิ หิ กรโต ปุญฺญํ ปาปสฺมึ รมตี มโน
ทนฺธิ หิ กรโต ปุญฺญํ ปาปสฺมึ รมตี มโน.

1. เป็นชื่อเงินตราชนิดหนึ่ง ซึ่งในอินเดียโบราณ มีค่าเท่ากับ 4 บาท.

"บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี, พึงห้ามจิต
เสียจากบาป, เพราะว่า เมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่,
ใจจะยินดีในบาป."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิตฺเรถ ความว่า พึงทำด่วนๆ คือ
เร็ว ๆ. จริงอยู่ คฤหัสถ์เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า " จักทำกุศลบางอย่าง ในกุศล
ทานทั้งหลายมีถวายสลากภัตเป็นต้น " ควรทำไว ๆทีเดียว ด้วยคิดว่า
เราจะทำก่อน เราจะทำก่อน " โดยประการที่ชนเหล่าอื่นจะไม่ได้โอกาส
ฉะนั้น. หรือบรรพชิต เมื่อทำวัตรทั้งหลายมีอุปัชฌายวัตรเป็นต้น ไม่ให้
โอกาสแก่ผู้อื่น ควรทำเร็ว ๆ ทีเดียว ด้วยคิดว่า " เราจะทำก่อน เราจะ
ทำก่อน."
สองบทว่า ปาปา จิตฺตํ ความว่า ก็บุคคลพึงห้ามจิตจากบาปกรรม
มีกายทุจริตเป็นต้น หรือจากอกุศลจิตตุปบาท ในที่ทุกสถาน.
สองบทว่า ทนฺธิ หิ กรโต ความว่า ก็ผู้ใดคิดอยู่อย่างนั้นว่า " เรา
จักให้, จักทำ, ผลนี้จักสำเร็จแก่เราหรือไม่ " ชื่อว่าทำบุญช้าอยู่ เหมือน
บุคคลเดินทางลื่น. ความชั่วของผู้นั้นย่อมได้โอกาส เหมือนมัจเฉรจิต
พันดวงของพราหมณ์ชื่อเอกสาฎกฉะนั้น. เมื่อเช่นนั้นใจของเขาย่อมยินดี
ในความชั่ว, เพราะว่าในเวลาที่ทำกุศลกรรมเท่านั้นจิตย่อมยินดีในกุศล
กรรม, พ้นจากนั้นแล้ว ย่อมน้อมไปสู่ความชั่วได้แท้.
ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก จบ.