เมนู

10. ทัณฑวรรควรรณนา


1. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [107]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ
ฉัพพัคคีย์1 ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สพฺเพ ตสนฺติ" เป็นต้น.

เหตุทรงบัญญัติปหารทานสิกขาบท


ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง เมื่อเสนาสนะอันภิกษุสัตตร2สพัคคีย์
ซ่อมแซมแล้ว ภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า " พวกท่านจงออกไป, พวกผม
แก่กว่า, เสนาสนะนั่นถึงแก่พวกผม." เมื่อภิกษุสัตตรสพัคคีย์เหล่านั้น
พูดว่า " พวกผมจักไม่ยอมให้, (เพราะ) พวกผมซ่อมแซมไว้ก่อน " ดังนี้
แล้ว จึงประหารภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุสัตตรสพัคคีย์ถูกมรณภัยคุกคามแล้ว
จึงร้องเสียงลั่น.
พระศาสดา ทรงสดับเสียงของภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสถามว่า " อะไร
กันนี่ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " เรื่องชื่อนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสว่า
" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จำเดิมแต่นี้ ธรรมดาภิกษุไม่ควรทำอย่างนั้น, ภิกษุ
ใดทำ, ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติชื่อนี้. " ดังนี้แล้ว ทรงบัญญัติปหารทาน-
สิกขาบท ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุรู้ว่า ' เราย่อม
หวาดหวั่นต่ออาชญา กลัวต่อความตายฉันใด, แม้สัตว์เหล่าอื่นก็ย่อม
หวาดหวั่นต่ออาชญา กลัวต่อความตายฉันนั้นเหมือนกัน ' ไม่ควรประหาร
1. ภิกษุมีพวก 6. 2. ภิกษุมีพวก 17.

เอง ไม่ควรใช้ให้ฆ่าผู้อื่น " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
1. สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพ ภายฺนฺติ มจฺจุโน
อตฺตานิ อุปมํ กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย.
" สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา, สัตว์
ทั้งหมด ย่อมกลัวต่อความตาย, บุคคลทำตนให้เป็น
อุปมาแล้ว ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ผู้อื่นให้ฆ่า."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า " สพฺเพ ตสนฺติ " ความว่า สัตว์
แม้ทั้งหมด เมื่ออาชญาจะตกที่ตน ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญานั้น.
บทว่า มจจุโน ได้แก่ ย่อมกลัวแม้ต่อความตายแท้.
ก็พยัญชนะ1แห่งเทศนานี้ไม่มีเหลือ. ส่วนเนื้อความยังมีเหลือ. เหมือน
อย่างว่า เมื่อพระราชารับสั่งให้พวกราชบุรุษตีกลองเที่ยวป่าวร้องว่า " ชน
ทั้งหมดจงประชุมกัน " ชนทั้งหลายที่เหลือเว้นพระราชาและมหาอำมาตย์
ของพระราชาเสีย ย่อมประชุมกันฉันใด. แม้เมื่อพระศาสดา ตรัสว่า
" สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่น " ดังนี้. สัตว์ทั้งหลายที่เหลือเว้นสัตว์วิเศษ
4 จำพวกเหล่านั้น คือ 'ช้างอาชาไนย ม้าอาชาไนย โคอุสภอาชาไนย
และพระขีณาสพ ' บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมหวาดหวั่นฉันนั้นเหมือนกัน.
จริงอยู่ บรรดาสัตว์วิเศษเหล่านี้ พระขีณาสพ ไม่เห็นสัตว์ที่จะตาย เพราะ
ความที่ท่านละสักกายทิฏฐิเสียได้เเล้วจึงไม่กลัว. สัตว์วิเศษ 3 พวกนอกนี้
1. อธิบายว่า เพ่งตามพยัญชนะ แสดงว่า สัตว์ทั้งหลายกลัวต่อความตาย ไม่มีเว้นใครเลย แต่
ตามอรรถ มีเว้นสัตว์บางพวก จึงกล่าวว่า ยังมีเหลือ.