เมนู

คาถาธรรมบท


ทัณฑวรรค1ที่ 10


ว่าด้วยอาชญามีผล


[20] 1. สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา สัตว์
ทั้งหมดย่อมกลัวต่อความตาย บุคคลทำตนให้เป็น
อุปมาแล้ว ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ผู้อื่นให้ฆ่า.

2. สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา ชีวิต
ย่อมเป็นที่รักของสัตว์ทั้งหมด บุคคลควรทำตนให้
เป็นอุปมาแล้ว ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ให้ฆ่า.

3. สัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่สุข บุคคล
ใดแสวงหาสุขเพื่อตน แต่เบียดเบียนสัตว์อื่นด้วย
ท่อนไม้ บุคคลนั้นละไปแล้วย่อมไม่ได้สุข สัตว์ผู้
เกิดแล้วทั้งหลายเป็นผู้ใคร่สุข บุคคลใดแสวงหาสุข
เพื่อตน ไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) ด้วยท่อนไม้ บุคคล
นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข.

4. เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ ชนเหล่า
อื่นถูกเธอว่าแล้ว จะพึงว่าตอบเธอ.

5. นายโคบาล ย่อมต้อนโคทั้งหลายไปสู่ที่หา
กิน ด้วยท่อนไม้ฉันใด ชราและมัจจุย่อมต้อนอายุ
ของสัตว์ ทั้งหลายไปฉันนั้น.

1. วรรคที่ 10 มีอรรถกถา 11 เรื่อง.

6. อันคนพาล ทำกรรมทั้งหลายอันลามกอยู่
ย่อมไม่รู้ (สึก) บุคคลผู้มีปัญญาทราม ย่อมเดือดร้อน
ดุจถูกไฟไหม้ เพราะกรรมของตนเอง.

7. ผู้ใด ประทุษร้ายในท่านผู้ไม่ประทุษร้าย
ทั้งหลาย ผู้ไม่มีอาชญาด้วยอาชญา ย่อมถึงฐานะ
10 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว คือ ถึง
เวทนากล้า 1 ความเสื่อมทรัพย์ 1 ความสลายแห่ง
สรีระ 1 อาพาธหนัก 1 ความฟุ้งซ่านแห่งจิต 1
ความขัดข้องแต่พระราชา 1 การถูกกล่าวตู่อย่างร้าย
แรง 1 ความย่อยยับแห่งเครือญาติ 1 ความเสียหาย
แห่งโภคะทั้งหลาย 1 อีกอย่างหนึ่ง ไฟป่าย่อมไหม้
เรือนของเขา 1 ผู้นั้นมีปัญญาทราม เพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงนรก.

8. การประพฤติเป็นคนเปลือย ก็ทำสัตว์ให้
บริสุทธิ์ไม่ได้ การเกล้าชฎาก็ไม่ได้ การนอนเหนือ
เปือกตมก็ไม่ได้ การไม่กินข้าวก็ดี การนอนบนแผ่น-
ดินก็ดี ความเป็นผู้มีกายหมักหมมด้วยธุลีก็ดี ความ
เพียรด้วยการนั่งกระหย่งก็ดี (แต่ละอย่าง) หาทำ
สัตว์ผู้ยังไม่ล่วงสงสัยให้บริสุทธิ์ได้ไม่.

9. แม้ถ้าบุคคลประดับแล้ว พึงประพฤติสม่ำ
เสมอ เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงธรรม มีปกติประ-


พฤติประเสริฐ วางเสียซึ่งอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก
บุคคลนั้นเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.

10. บุรุษผู้ห้ามอกุศลวิตก ด้วยหิริได้ น้อยคน
จะมีในโลก บุคคลใดกำจัดความหลับ ตื่นอยู่ เหมือน
ม้าดีหลบแส้ไม่ให้ถูกตน บุคคลนั้นหาได้ยาก ท่าน
ทั้งหลายจงมีความเพียร มีความสลดใจ เหมือนม้าดี
ถูกเขาตีด้วยแส้แล้ว (มีความบากบั่น) ฉะนั้น ท่าน
ทั้งหลายเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล วิริยะ สมาธิ
และด้วยคุณเครื่องวินิจฉัยธรรม มีวิชชาและจรณะ
ถึงพร้อม มีสติมั่นคง จักละทุกข์อันมีประมาณไม่
น้อยนี้ได้.

11. อันคนไขน้ำทั้งหลาย ย่อมไขน้ำ ช่างศร
ทั้งหลาย ย่อมดัดศร ช่างถากทั้งหลาย ย่อมถากไม้
ผู้สอนง่ายทั้งหลาย ย่อมฝึกตน.

จบทัณฑวรรคที่ 10

10. ทัณฑวรรควรรณนา


1. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [107]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ
ฉัพพัคคีย์1 ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สพฺเพ ตสนฺติ" เป็นต้น.

เหตุทรงบัญญัติปหารทานสิกขาบท


ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง เมื่อเสนาสนะอันภิกษุสัตตร2สพัคคีย์
ซ่อมแซมแล้ว ภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า " พวกท่านจงออกไป, พวกผม
แก่กว่า, เสนาสนะนั่นถึงแก่พวกผม." เมื่อภิกษุสัตตรสพัคคีย์เหล่านั้น
พูดว่า " พวกผมจักไม่ยอมให้, (เพราะ) พวกผมซ่อมแซมไว้ก่อน " ดังนี้
แล้ว จึงประหารภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุสัตตรสพัคคีย์ถูกมรณภัยคุกคามแล้ว
จึงร้องเสียงลั่น.
พระศาสดา ทรงสดับเสียงของภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสถามว่า " อะไร
กันนี่ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " เรื่องชื่อนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสว่า
" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จำเดิมแต่นี้ ธรรมดาภิกษุไม่ควรทำอย่างนั้น, ภิกษุ
ใดทำ, ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติชื่อนี้. " ดังนี้แล้ว ทรงบัญญัติปหารทาน-
สิกขาบท ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุรู้ว่า ' เราย่อม
หวาดหวั่นต่ออาชญา กลัวต่อความตายฉันใด, แม้สัตว์เหล่าอื่นก็ย่อม
หวาดหวั่นต่ออาชญา กลัวต่อความตายฉันนั้นเหมือนกัน ' ไม่ควรประหาร
1. ภิกษุมีพวก 6. 2. ภิกษุมีพวก 17.