เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า

นปฺปสเหยฺย มจฺจุ

ความว่า
ประเทศคือแผ่นดิน แม้เพียงเท่าปลายผม ที่มรณะไม่พึงย่ำยี คือไม่พึง
ครอบงำผู้สถิตอยู่ ย่อมไม่มี คำที่เหลือ ก็เช่นกับคำก่อนนั่นเทียวดังนี้แล.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

ม้ามงคลเป็นเหตุให้ท้าวเธอเสด็จลงจากปราสาท


ในวันที่ 7 ในเวลาคล้ายกับเวลาที่เจ้าสุปปพุทธะปิดหนทางภิกษา-
จารของพระศาสดา ม้ามงคลของเจ้าสุปปพุทธะในภายใต้ปราสาทคึก
คะนอง กระแทกแล้วซึ่งฝานั้น ๆ.
ท้าวเธอประทับนั่งอยู่ชั้นบนนั่นเอง ได้สดับเสียงของม้านั้น จึง
ตรัสถามว่า " นั่นอะไรกัน ? " พวกมหาดเล็กทูลว่า " ม้ามงคลคะนอง. "
ส่วนม้านั้น พอเห็นเจ้าสุปปพุทธะ ก็หยุดนิ่ง.

เกิดเหตุน่าประหลาดเพราะกรรมชั่ว


ขณะนั้น ท้าวเธอมีพระประสงค์จะจับม้านั้น ได้เสด็จลุกจากที่
ประทับบ่ายพระพักตร์มาทางประตู. ประตูทั้งหลายเปิดเองทีเดียว; บันได
ตั้งอยู่ในที่ของตนตามเดิม. คนแข็งแรงผู้ยืนอยู่ที่ประตูจับท้าวเธอที่พระศอ
ผลักให้มีพระพักตร์คะมำลงไป. โดยอุบายนั้นประตูที่พื้นทั้ง 7 ก็เปิดเอง
ทีเดียว บันไดทั้งหลายก็ดังอยู่ในที่เดิม. พวกคนที่แข็งแรง (ประจำอยู่)
ที่ชั้นนั้น ๆ จับท้าวเธอที่พระศอเทียวแล้วผลักให้มีพระพักตร์คะมำลงไป.

ท้าวเธอถูกแผ่นดินสูบไปเกิดในอเวจีนรก


ขณะนั้น มหาปฐพีแตกแยกออกคอยรับเจ้าสุปปพุทธะนั้นผู้ถึงที่
ใกล้เชิงบันไดที่ภายใต้ปราสาทนั่นเอง. ท้าวเธอไปบังเกิดในอเวจีนรก
แล้วแล.
เรื่องเจ้าสุปปพุทธศากยะ จบ
ปาปวรรควรรณนา จบ
วรรคที่ 9 จบ.